การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ตันเครือ โรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, เบาหวานชนิดที่2, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) แบบศึกษาย้อนหลัง case-control study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในบริบทของโรงพยาบาลเวียงแก่น

             เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเวียงแก่น ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 65 ราย และผู้ป่วยที่ไม่เคยเกิดภาวะดังกล่าว จำนวน 260 ราย จากนั้นจึงหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก

             ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับการทำงานของไตที่ลดลงมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงมากกว่า adjusted OR 45.03 (95% CI=29-278.21) ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี จะป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงมากขึ้น adjusted OR 0.28 (95% CI=0.08-0.98) ปริมาณ insulin ที่ใช้ adjusted OR 8.14 (95% CI=2.02-32.73) ประวัติการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมาก่อน adjusted OR 3.85 (95%CI=1.20-12.37) การมีผู้ดูแล adjusted OR 24.12 (95%CI=7.03-82.79) และเมื่อพิจารณาประวัติการเพิ่มกิจกรรม การปรับเพิ่มยา และการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ากลุ่มศึกษามีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ adjusted OR 15.18 (95% CI1.52-151.40), adjusted OR 12.66 (95%CI=2.46-65.03) และadjusted OR 11.21 (95%CI=1.54-81.63) ตามลำดับ ควรนำผลวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้จริงในบริบท โดยการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น

References

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/bukhlakr-thangkar-phaethy/cpg/naewthang-wech-ptibati-sahrab-rokh-bea-hwan-2567

Barranco RJ, Gomez-Peralta F, Abreu C, Delgado M, Palomares R, Romero F, et al. Incidence and care-related costs of severe hypoglycemia requiring emergency treatment in Andalusia (Spain): The PAUEPAD project. Diabetes Med. 2015;32(11):1520–6.

Ahrén B. Avoiding hypoglycemia: a key to success for glucose-lowering therapy in type 2 diabetes. Vasc Health Risk Manag. 2013; 9:155–63.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยและทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pptvhd36.com /health/news/2298

Schlesselman JJ. Case-control studies design, conduct, analysis. Oxford: Oxford University Press; 1982.

Donnelly LA, Morris AD, Frier BM, Ellis JD, Donnan PT, Durrant R, et al. Frequency and predictors of hypoglycaemia in Type 1 and insulin-treated Type 2 diabetes: a population-based study. Diabet Med. 2005;22(6):749-55.Availablefrom: https://onlinelibrary.wiley .com/doi/10.1111/j.1464-5491.2005.01501.x

Pongplanchai H. Risk factors of severe hypoglycemia in type 2 diabetic patients at district hospital, Wiang Pa Pao, Chiang Rai, Thailand. GMSMJ Greater Mekong Subregion Med J. 2022;2(2):101–8.

อภิชาติ ใจใหม่, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, ขนิษฐา จันทิมา. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน. J Health Sci Res. 2023;17(1):14–26.

Schloot NC, Haupt A, Schütt M, Badenhoop K, Laimer M, Nicolay C, et al. Risk of severe hypoglycemia in sulfonylurea-treated patients from diabetes centers in Germany/Austria: How big is the problem? Which patients are at risk? Diabetes Metab Res Rev. 2016;32(3):316–24. Available from: https://onlinelibrary.wiley .com/doi/10.1002/dmrr.2722

Kim HM, Seong J-M, Kim J. Risk of hospitalization for hypoglycemia among older Korean people with diabetes mellitus. Medicine (Baltimore). 2016;95(42):e5016.Availablefrom:https://journals .lww.com/ 00005792-201610180-00013

Hodge M, McArthur E, Garg AX, Tangri N, Clemens KK. Hypoglycemia incidence in older adults by estimated GFR. Am J Kidney Dis. 2017;70(1):59–68. Available from: https://linkinghub .elsevier.com/retrieve/pii/S0272638616307119

Rubin DJ, Rybin D, Doros G, McDonnell ME. Weight-based, insulin dose-related hypoglycemia in hospitalized patients with diabetes. Diabetes Care. 2011;34(8):1723–8. Available from: https://diabetesjournals.org/care /article/34/8/1723/27374/Weight-Based-Insulin-Dose-Related-Hypoglycemia-in

Jeon JY, Kim SR, Kim HJ, Kim DJ, Lee K-W, Lee J-D, et al. Risk factors of severe hypoglycemia requiring medical assistance and neurological sequelae in patients with diabetes. Medicine (Baltimore). 2016;95(47): e5365. Available from: https://journals.lww.com/00005792-201611220-00022

Emons MF, Bae JP, Hoogwerf BJ, Kindermann SL, Taylor RJ, Nathanson BH. Risk factors for 30-day readmission following hypoglycemia-related emergency room and inpatient admissions. BMJ Open Diabetes Res Care. 2016;4(1): e000160. Available from: https://drc.bmj.com/lookup/doi/10.1136/bmjdrc-2015-000160

Abbatecola AM, Bo M, Barbagallo M, Incalzi RA, Pilotto A, Bellelli G, et al. Severe hypoglycemia is associated with antidiabetic oral treatment compared with insulin analogs in nursing home patients with type 2 diabetes and dementia: Results from the DIMORA study. J Am Med Dir Assoc. 2015;16(4):349.e7-349.e12. Available from: https://linkinghub. elsevier.com/retrieve/pii/S1525861014008391

Yanai H. Causative anti-diabetic drugs and the underlying clinical factors for hypoglycemia in patients with diabetes. World J Diabetes. 2015;6(1):30. Available from: http://www.wjgnet.com/1948-9358/full/v6/i1/30.htm

Reifegerste D, Hartleib S. Hypoglycemia-related information seeking among informal caregivers of type 2 diabetes patients: Implications for health education. J Clin Transl Endocrinol. 2016;4:7–12. Available from: https://linkinghub.elsevier.com/ retrieve/pii/S2214623716000053

George M, Mathew B, Idiculla J. Risk factors for hypoglycemia in the elderly: A cross-sectional analytical study. J Mahatma Gandhi Inst Med Sci. 2017;22(1):18. Available from: https://journals.lww.com/10.4103/0971-9903.202004

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30

How to Cite

1.
ตันเครือ ณ. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. J ChiangRai Health Off [อินเทอร์เน็ต]. 30 เมษายน 2025 [อ้างถึง 20 พฤษภาคม 2025];2(1):21-35. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jcrpho/article/view/2723