การพัฒนาระบบบริหารจัดการยา ณ ศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ โสภณศิริกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบบริหารจัดการคลังยา, ยาหมดอายุ

บทคัดย่อ

จากการปฏิบัติงานที่ศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ซึ่งให้บริการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พบปัญหายาหมดอายุ และมียาคงคลังที่จะหมดอายุปริมาณมาก งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการคลังยา และลดความสูญเสียจากยาหมดอายุ โดยใช้กระบวนการตามวิธีคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)  เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แบบรายงานยาใกล้หมดอายุ (6 เดือน) และแบบรายงานยาหมดอายุ มีระยะเวลาศึกษาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคลังยา ณ ศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon Sign Rank Test ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลังยา สามารถลดมูลค่ายาหมดอายุลงได้ในเดือนมกราคม 2567 มูลค่ายาหมดอายุที่คาดการณ์ไว้ 1,448 บาท ลดลงเหลือ 700 บาท (ลดลง 51.66%) เดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2567 ไม่มีรายงานยาหมดอายุ (ลดลง 100%) ในเดือนกรกฎาคม 2567 สามารถลดมูลค่ายาหมดอายุจาก 13,598 บาท เหลือเพียง 892 บาท (ลดลง 93.44%) โดยพบว่ามูลค่ายาหมดอายุที่เกิดขึ้นจริงมีความแตกต่างจากประมาณการมูลค่ายาหมดอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.028) การพัฒนาระบบบริหารจัดการคลังยาช่วยลดมูลค่ายาหมดอายุลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหลังจากผ่านไป 6 เดือน ที่ระบบมีเสถียรภาพแล้ว การศึกษาในอนาคตอาจมุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงเพื่อใช้ในการพยากรณ์ปริมาณยาคงคลังหรือกำหนดปริมาณการจัดซื้อได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ:  การพัฒนา, ระบบบริหารจัดการคลังยา, ยาหมดอายุ

References

Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Efficiency improving of the pharmaceutical management system, Ministry of Public Health. War Veterans; 1999.

Lyana A. Best Practices to Manage Medical Supplies with Hospital Inventory Management System [Internet]. 2023 [cited 2023 Sep 23]. Available from: https://www.hashmicro.com/blog/best-practices-to-manage-medical-supplies-with-hospital-inventory-management-system/

วณีนุช วราชุน. ระบบการจัดการด้านยาในโรงพยาบาลคุณภาพ [Internet]. 2017 [cited 2023 Sep 23]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=309

พิเชษฐ์ ชังเก. รูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการเวชภัณฑ์ของคลังยา โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2022;7(1):57–63.

รมิดา จิตมณี. การพัฒนาระบบบริหารคลังยา สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2022;7:24-38.

มาลี ปรีชาพลสิทธิ์, และคณะ. การพัฒนาระบบการจัดการยาใกล้หมดอายุ [Internet]. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2016 [cited 2023 Oct 10]. Available from: https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-download/5-5582-1470296190.pdf

ชนม์ชนกต์ ยงกุลวณิชนันท์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2022;9(2):9-19.

ชรัณ ประยูรเสถียร, ภิญญดา นฤบุญญฤทธิ์, กิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาคุณภาพระบบเติมยาโดยใช้แนวคิดลีนในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชัยนาท. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2021;17(4)

:75-87.

ลักขณา รินทะไชย. การพัฒนาระบบบริหารคลังเวชภัณฑ์ยา โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565-2566. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2023;8(4):834-841.

มัตติกา ประพฤติดี. การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2021;1(2):16-29.

ธิดารัตน์ ว่องทวีเจริญพร. การพัฒนาคลังยาของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2023;32(5):876-883.

อนงค์จิตต์ โตวานิชกุล. การปรับปรุงและพัฒนางานบริหารคลังยาที่มิใช่ยา โรงพยาบาลสิรินธร [Internet] n.d. [cited 2024 Feb 2]; Available from:

http://203.155.220.238/csc/attachments/article/196/pharma610801.pdf

ภัทรินทร์ อิสระพิทักษ์กุล. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารปริมาณยาคงคลังของคลังยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2019.

Mahima Dubey, Harshna Vishwakarma, Parveen Nisha. Review Article on Pharmaceutical Inventory Models. Journal of Drug Delivery & Therapeutics. 2022; 12(5-S):230-235.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-07-2025

How to Cite

1.
โสภณศิริกุล ศ. การพัฒนาระบบบริหารจัดการยา ณ ศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. jodpc12sk [อินเทอร์เน็ต]. 16 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 17 กรกฎาคม 2025];3(1):13-21. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/1770