จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมการตีพิมพ์
วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งวารสารให้ความสำคัญด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ จึงกำหนดแนวปฏิบัติตามหลักการ และมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ รายละเอียดดังนี้

จริยธรรมของผู้นิพนธ์
1. เรื่องที่ผู้นิพนธ์ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรือกำลังตีพิมพ์ในวารสารอื่น เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา แล้วผู้นิพนธ์จะต้องไม่มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในแหล่งอื่นใด
2. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
3. ผู้นิพนธ์จะต้องรายงานข้อเท็จจริงจากการทำวิจัย ไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และจะต้องไม่บิดเบือน หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล
4. ผู้นิพนธ์ต้องมีการอ้างอิง ทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอ หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวารสารจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ทันที และหากมีการฟ้องร้องให้เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
5. ผู้นิพนธ์จะต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี)
6. ผู้นิพนธ์จะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

จริยธรรมของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในขณะที่บทความอยู่ระหว่างการตรวจประเมิน
3. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ประเมินบทความ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ประเมินบทความและผู้นิพนธ์
4. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ
5. บรรณาธิการไม่นำบทความหรือวารสาร ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
6. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความ โดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์

จริยธรรมของของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก โดยพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลของบทความที่ตนประเมินไปเป็นผลงานของตนเอง ยกเว้นการอ้างอิงบทความหลังจากบทความที่ตนประเมินได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
3. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
4. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณา แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
5. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด
6. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์