ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 (COVID 19) ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุดา เอียดเพ็ชร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • เพ็ญผกา แซ่คู
  • กีรติ นิยมรัตน์

คำสำคัญ:

โควิด 19, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อการติดเชื้อโควิด 19 ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ซึ่งถูกสุ่มมาด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 186 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการระบาดและการป้องกันตนเองต่อการติดเชื้อโควิด 19 อยู่ระดับมาก ร้อยละ 86.56 ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 อยู่ระดับมาก ร้อยละ 96.24 การรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 อยู่ระดับมาก ร้อยละ 92.47 พฤติกรรมการป้องกันตนเอง อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.43 ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) พฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อและเคยติดเชื้อโควิด 19 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.328) ผลการวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ดังนั้น เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นควรส่งเสริมให้เกิดความตระหนัก ในการป้องกันตนเองเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ดีขึ้น

References

มหาวิทยาลัยมหิดล. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 ตอนที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://phoubon.in.th/covid-19/ความรู้เรื่อง%20COVID%20รามา.pdf

Word Health Organization. โรคโควิด 19 คืออะไร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0

รุจิภาส สิริจตุภัทร. โควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/research/detail/13755

สมจิต พฤกษะริตานนท์. บรรณาธิการแถลง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/243694

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค แนะพุทธศาสนิกชนเข้าวัดทำบุญวันมาฆบูชา ขอให้เข้มมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 โดยยึดหลัก D-M-H-T-T [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news =17280&deptcode=brc

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการป้องกันโควิด 19 ในวันครอบครัว 14 เม.ย. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=24623&deptcode=brc

เชาวลิต เลื่อนลอย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนอำเภอศรีสาคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2556;2(1):18-33.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันทมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ต้นสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(2):31-9.

ปางชนม์ เตี้ยแจ้, อภิชาญ ทองใบ, อุดม ชื่นฤทัย, ชลดา มาเกิด, เสน่ห์ ศรีแจ้. การสอบสวนโรคและการศึกษาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลห้วยลึก อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชบุรี. วารสารวิชาการ สคร.9 2564;27(3):5-15.

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. สถิติความสัมพันธ์เลือกใช้อย่างไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 2565;2:1-15.

วรรณา ธนานุภาพไพศาล, รสสุคนธ์ พิไชยแพทย์. ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2565;1:135-52.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ธนภรณ์ ทองศิริ, อารยา พิชิตชัยณรงค์, ธันยพร กิ่งดอกไม้, สุภาพ ธรรมกุล, ภาวลิน แสนคำราง และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564;7(1):8-20

ธวัชชัย ยืนยาว, ไวยพร พรมวงศ์, กัลยารัตน์ คาดสนิท. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาพยาบาลในเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564;2:204-13.

แนวคิดและทฤษฎี. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/6149T

อิสรีย์ ปัญญาวรรณ, จิตถนอม สังขนันท์, นงลักษณ์ อินตา. ทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565;18(1):1-15.

พนัชญา ขันติจิตร. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารวารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2564;5(2):39-53.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ผลสำรวจ คนไทยกว่าร้อยละ 30 ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงติดโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/172715/

พลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร. ปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคโควิด 19. J Med Health 2020;27(2):140-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-07-2023