การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
Q-Alert, ระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศ, ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตราย ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตราย 3 โรค ได้แก่ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 โรคไข้เหลือง และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ณ ด่านพรมแดน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของระบบงานเดิม สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร และมีการออกแบบระบบงานใหม่ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน มีการทดสอบระบบ ทดลองใช้ และฝึกอบรมการใช้งาน จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีการใช้กระดาษในการเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูล ผู้บริหารไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนทรัพยากร ขาดความครบถ้วน ความถูกต้อง ต้องใช้เวลานานเกิดความแออัด เพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ เพิ่มภาระงานที่ต้องบันทึกข้อมูลย้อนหลัง (2) ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตรายโดยการเขียนโปรแกรมผ่าน Web Application และ Mobile Application มีการวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย 3 ด้าน คือ (1) ประสิทธิผลของข้อมูล (Effective database) มีการรายงานข้อมูลแบบ Real time มีระบบแจ้งเตือนพบผู้ป่วย PUI ผ่าน line group ทำให้มีการเตรียมความพร้อมได้ทันที (2) ลดภาระงานบุคลากร (Reduce workload) และ (3) ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ (Reduce risk of infection) ระบบใหม่ช่วยลดระยะเวลา ลดการสัมผัสเอกสาร เนื่องจากมีการบันทึกข้อมูล ต.8 ล่วงหน้า มี QR code ช่วยในการบันทึกข้อมูล
References
ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.
กรมควบคุมโรค. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1
วีรพงษ์ ปงจันตา, อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. การตรวจจับสกัดกั้นโรคติดต่อข้ามประเทศแบบบูรณาการของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560;24(2):14-24
งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
ณัฐพล ชัยลังกา, อาภาพร เผ่าวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เหลืองในผู้เดินทางชาวไทยที่เดินทางกลับจากเขตติดโรคไข้เหลือง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2566];35(3):77-90. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/253261/171358
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A405.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต