รายงานผู้ป่วยและการสอบสวนผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในพื้นที่ไม่ปรากฏโรคมาก่อน จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
โรคเรื้อนชนิด Mid-borderline (BB), รายงานผู้ป่วย, การสอบสวนโรคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในพื้นที่ไม่ปรากฏโรคมาก่อน 2) เพื่อค้นหาและเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคเรื้อน และ 3) เพื่อหามาตรการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคเรื้อนในพื้นที่ไม่ปรากฏโรคมาก่อน รูปแบบการศึกษาเป็นรายงานผู้ป่วยและการสอบสวนโรค กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ที่มาตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่จำนวน 1 คน ผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 6 คน และผู้สัมผัสร่วมสังคมจำนวน 20 คน ในพื้นที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 – 31 พฤษภาคม 2566 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยเป็นชนิด Mid-borderline Leprosy (BB) พบการกระจายของรอยโรคสองข้างของร่างกาย (Bilateral) เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อมาก Multibacillary leprosy (MB) มีความพิการระดับ 2 (มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า) ผลการตรวจความพิการที่ ตา มือ และเท้า พบความพิการระดับสูงสุด เท่ากับ 1 และ 2 เฉพาะที่มือ และ เท้า ผลการตรวจเส้นประสาทและทดสอบกำลังกล้ามเนื้อ จำนวนทั้งหมด 11 รายการ พบผิดปกติ จำนวน 6 รายการ ได้แก่ 1) Great Auricular 2) Ulnar 3) Median 4) Radial 5) Common Peroneal และ 6) Posterior Tibial ความผิดปกติและพิการเหล่านี้แสดงถึงการดำเนินของโรคที่มีระยะเวลานานหลายปี โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา ผลการประเมินการรักษา พบว่า ผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาต่อเนื่องและสม่ำเสมอมานาน 8 เดือน ส่งผลให้รอยโรคทางผิวหนังจางลง อาการชาลดลง แต่ยังมีอ่อนแรงมือทั้ง 2 ข้าง และปวดจากเส้นประสาท ผู้ป่วยได้รับการดูแลประคับประคองโดยเพิ่มขนาดยา Gabapentin ส่งเสริมให้กินรักษาโรคเรื้อนและทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลมิติทางด้านจิตใจ และสังคม การคัดกรองโรคเรื้อนในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 6 ราย ผู้สัมผัสร่วมสังคม จำนวน 20 ราย ไม่พบผู้ที่มีอาการสงสัยโรคเรื้อน ข้อค้นพบจากการวิจัยเหล่านี้สามารถใช้ในการพัฒนาแนวทางและคู่มือสำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน รวมถึง การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเรื้อน สำหรับแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้อง
References
Han XY, Seo YH, Sizer KC, Schoberle T, May GS, Spencer JS, et al. A New Mycobacterium Species Causing Diffuse Lepromatous Leprosy. Am J Clin Pathol. 2008;130:856–64.
World Health Organization. Towards Zero Leprosy. Global Leprosy (Hansen’s Disease) Strategy 2021–2030 [Internet]. New Delhi: World Health Organization, Regional Office for South-East Asia; 2017 [Cited 2023 May 25]. 27p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789290228509
Ramme HFJ. et al. Tropical Diseases Targeted for Elimination: Chagas Diseases, Lymphatic Filariasis, Onchocerciasis, and Leprosy. In: Jamison DT et al, editors. Disease Control Priorities in Developing Countries. 2nd ed. New York: Oxford University Press; 2006 p.433–50.
กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรคติดต่อ. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2543.
กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรค. คู่มือการป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2550.
World Health Organization. Ending the neglect to attain the Sustainable Development Goals: a road map for neglected tropical diseases 2021–2030 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [Cited 2023 May 25]. 177p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240010352
ธีระ รามสูต. การควบคุมอุบัติการณ์โรคเรื้อนให้อยู่ในขอบเขตจำกัด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557;4(2):99–108.
Noordeen SK. Elimination of leprosy as a public health problem: progress and prospects. Bulletin of the World Health Organization. 1995;73(1):1–6.
ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์, วัลลภ ดิษสุวรรณ์, พิมพ์วลัญช์ ขุนหมวก, ดัสซีมา มุวรรณสินธุ์, ทิพย์สุดา นวลนิ่ม. การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคเรื้อนภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2564;47(3):170–8.
บุษบัน เชื้ออินทร์, วิสุทธิ์ แซ่ลิ้ม, ตวงพร เอื้ออิฐผล, ศิรามาศ รอดจันทร์. 60 ปี ราชประชาสมาสัยกับความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนตามแนวพระราชดำริ ปี พ.ศ. 2500 – 2563. วารสารควบคุมโรค 2564;47(3):490-505.
สถาบันราชประชาสมาสัย. รายงานประจำปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1282920220606095246.pdf.
ศุภิสรา วงศ์ตามา, วลัยรัตน์ สิทธิกรสวัสดิ์. กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(1):139-44.
สุชัญญา มานิตย์ศิริกุล, ญาดา โตอุตชนม์. การพัฒนารูปแบบระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนและการเพิ่มคุณภาพงานควบคุมโรคเรื้อน ภายใต้สภาวการณ์ความชุกต่ำ จังหวัดสุรินทร์. วารสารควบคุมโรค 2558;41(3):170–8.
สุพัตรา สิมมาทัน, นิชนันท์ โยธา, นิภาพร ฮามพิทักษ์, สมัย ทองพูล, อิทธิเดช ไชยชนะ. รูปแบบการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนจากการตรวจผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ภายใต้สภาวะความชุกต่ำในพื้นที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564;28(3):55–69.
นิ่มนวล ปุณยหทัยพงศ์, ญาดา โตอุตชนม์. การพัฒนาแนวทางการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: กรณีศึกษาบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ สคร. 9 2562;25(2):35–44.
ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, นัชชา พรหมพันใจ, บุษบัน เชื้ออินทร์. การประเมินประสิทธิผลการพัฒนาสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อนในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562;13(1):44-55.
สุชัญญา มานิตย์ศิริกุล, ญาดา โตอุตชนม์. เปรียบเทียบต้นทุน–ประสิทธิผลการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ระหว่างการสำรวจหมู่บ้านแบบเร็วและการค้นหาโดยกำนัน–ผู้ใหญ่บ้าน วารสารควบคุมโรค 2557;40(2):111–7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต