ลักษณะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดพังงา ปีงบประมาณ 2560-2564

ผู้แต่ง

  • โอภาส คันธานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

วัณโรค, การเสียชีวิต, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ. 2564 องค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูงรวมถึงวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี แผนยุทธศาสตร์วัณโรคของประเทศไทย (พ.ศ. 2560 - 2564) มีเป้าหมายลดการเสียชีวิตลงร้อยละ 95 เน้นส่งเสริมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการป้องกัน ดูแลรักษา และควบคุมวัณโรคเพื่อลดอุบัติการณ์ลงร้อยละ 12.5 ต่อปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดพังงา และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดพังงา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง แบบ Case control กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 440 คน เลือกแบบสุ่มจากผู้ป่วยวัณโรคทุกรายที่รักษาเสร็จสิ้นแล้วซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดพังงา ระหว่าง 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2564 จากโปรแกรม NTIP Thailand ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 73.2) อายุมากกว่า 50 ปี (ร้อยละ 35) ความเข้มข้นของแบคทีเรียอยู่ในระดับสูง (≥ 2+) (ร้อยละ 84.5) ผู้ติดเชื้อ HIV (ร้อยละ 7.3) ผู้ป่วยพบเชื้อ HIV ไม่ได้รับยาต้านไวรัส (ร้อยละ 65.6) มีโรคร่วมอื่น ๆ (ร้อยละ 25.2) โรคร่วมที่พบมากที่สุดคือโรคถุงลมโป่งพอง (ร้อยละ 30.6) รองลงมาคือ โรคเบาหวาน (ร้อยละ 28.8) และโรคตับ (ร้อยละ 12.6) ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดพังงา โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบโลจิสติก ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป (aOR = 0.12, 95% CI 0.07-0.20, P-value < 0.01) ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ < 18.5 kg/m2 (aOR = 2.15, 95% CI 1.32–3.49, P-value < 0.01) มีโรคร่วมเป็นโรคถุงลมโป่งพอง (aOR = 14.81, 95% CI 5.97-36.80, P-value < 0.01 และเป็นโรคตับ (aOR = 13.512, 95% CI 3.190-57.24,  P-value < 0.01) สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ (< 18.5 kg/m2) มีโรคร่วมเป็นโรคถุงลมโป่งพองและเป็นโรคตับมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องได้รับดูแลอย่างใกล้ชิด พิจารณาให้นอนโรงพยาบาลโดยเฉพาะในช่วง 1 - 2 เดือนแรกของการรักษาวัณโรค

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา. รายงานการประเมินผลงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดพังงา ปีงบประมาณ 2564. พังงา:กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ; 2564.

สำราญ ธรรมสาร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน, นภาวรรณ สุกรภาส, สุดาณี บูรณเบ็ญจเสถียร, วิรัช กลิ่นบัวแย้ม และคณะ. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2556;34(2):51-62.

Kwon YS, Kim YH, Song JU, Jeon K, Song J, Ryu YJ, et al. Risk Factors for Death during Pulmonary Tuberculosis Treatment in Korea: A Multicenter Retrospective Cohort Study. Journal of Korean Medical Science 2014;29(9): 1226-31.

พันธ์ชัย รัตนสุบรรณ, วิเชียร ตระกูลกลกิจ, สากล คมขา, เสริมสุข รัตนสุวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ภายใต้รูปแบบการดำเนินงาน Non-Family DOT ของโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2550-2558. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2561;37(2):35-41.

เจริญศรี แซ่ตั้ง. ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค 2560;43(4):436-47.

ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2560;9(1):19-27.

Anunnatsiri S, Chetchotisakd P, Wanke C. Factors Associated with Treatment Outcomes in Pulmonary Tuberculosis in Northeastern Thailand. Southeast Asian J Trop Med and Public Health 2005;36(2):324-30.

Atif M, Anwar Z, Fatima RK, Malik I, Asghar S, Scahill S. Analysis of tuberculosis treatment outcomes among pulmonary tuberculosis patients in Bahawalpur Pakistan.BMC Reserch Notes 2018;11:1-6.

Alavi-Naini R, Moghtaderi A, Metanat M, Mohammadi M, Zabetian M. Factors associated with mortality in tuberculosis patients. J Res in Med Sci. 2013;18(1):52-5.

วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559;23(1):22-34.

อัจฉรา รอดเกิด. สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสีย ชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2562;33(1):91-102.

จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคา, ฤทัยรัตน์ แสงนา, วีรพันธ์ การบรรจง, กนกรส โค้วจริยพันธุ์ และคณะ. ปัจจัยเกี่ยวเนื่องอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2559;8(1):53-9.

นิธิพัฒน์ เจียรกุล. วัณโรค. ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2551. 328-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2024