ประสิทธิศักย์ของสารสกัดจากจิงจูฉ่าย (Artemisia Lactiflora Wall. Ex DC.) เกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมัน (Eaeis guineensis Jacq.) และชุมเห็ดเทศ (Cassia alata (L.) Roxb.) ในการออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำ และฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้าน

ผู้แต่ง

  • กชพรรณ สุกระ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
  • คณพศ ทองขาว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ยุพยง อัตตะ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 11.5 จังหวัดระนอง
  • กฤตยา มากคง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 11.1 จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

จิงจูฉ่าย, เกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมัน, ชุมเห็ดเทศ, ฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้าน, ฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้าน

บทคัดย่อ

การป้องกันควบคุมยุงลายนิยมใช้สารเคมีเป็นหลัก เป็นผลทำให้เกิดความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงทั้งในลูกน้ำและยุงตัวเต็มวัยได้ในอนาคต เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาหาทางเลือกอื่นมาทดแทน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้านและฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านของสารสกัดจากจิงจูฉ่าย เกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมัน และชุมเห็ดเทศ ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 5, 10 และ 20 ตามลำดับ จากการศึกษาฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้าน พบว่า สารสกัดจากจิงจูฉ่ายทุกความเข้มข้นลูกน้ำยุงลายมีอัตราการตายร้อยละ 100 ที่ 24 ชั่วโมง ส่วนสารสกัดจากชุมเห็ดเทศและเกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมันให้อัตราตายของลูกน้ำยุงลายบ้าน ร้อยละ 100 ที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร (V/V) จากการศึกษาการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านตัวเต็มวัยของสารสกัดจิงจูฉ่าย เกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมันและชุมเห็ดเทศ ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1, 5, 10 และ 20 ตามลำดับ พบว่า สารสกัดชุมเห็ดเทศมีประสิทธิผลในการไล่ยุงลายบ้านแบบสัมผัสโดยตรงได้ดีที่สุดที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 และ 20 ในอัตราไล่ยุงร้อยละ 38 – 35 รองลงมาคือ จิงจูฉ่ายให้อัตราไล่ยุงลายบ้านร้อยละ 20 – 27 ที่ความเข้มข้นเดียวกัน ส่วนสารสกัดเกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมัน ไม่มีฤทธิ์ในการไล่ยุง และนอกจากนี้ ควรมีการศึกษาสารสกัดจากจิงจูฉ่ายเพิ่มเติมในส่วนของฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำยุงชนิดอื่น ๆ ด้วย สำหรับเกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมันไม่มีฤทธิ์ในการไล่ยุง ดังนั้นควรศึกษาในด้านฤทธิ์ในการดึงดูดยุง เพื่อพัฒนาเป็นเหยื่อล่อยุงพาหะนำโรคต่อไป

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. การใช้เครื่องพ่นสำหรับผู้ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

ประคอง พันธุ์อุไร. รายงานย่อ บันทึกการสังเกตพบว่านน้ำ (Acorus calamus Linn.) ออกฤทธิ์ทำให้ลูกน้ำยุงลายตายได้. วารสารกรมวิทยาสาสตร์การแพทย์ 2520;19:251-2.

อุษาวดี ถาวระ, อภิวัฏ ธวัชสิน, ฤทัยรัตน์ ศรีธมรัตน์, ปณวรรณ ปุโรทกานนท์. สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีไซร์ จำกัด; 2546.

คณพศ ทองขาว, กชพรรณ สุกระ, โสภาวดี มูลเมฆ, วาสินี ศรีปล้อง, ปิติ มงคลางกูร. การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสัก (Tectona grandis L.f.) ต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) (L.). วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2558;12:36-9.

Abbott W.S. A method of computing the effectiveness of an insecticide. J Econ Entomol 1925;18:265-67.

Chareonviriyaphap T, Prabaripai A, Sungvornyothin S. An improved excito - repellency for mosquito behavioral test. J Vector Ecol 2002;27:250-2.

Noosidum A, Prabaripai A, Chareonviriyaphap T, Chandrapatya A. Excito-repellency Properties of essential oils form Melaleuca Leucadendron L., Litsea cubeba (Lour.) Persoon, and Litsea salicifolia (Nees) on Aedes aegypti (L.) mosquitoes. J Vector Ecol 2008;33:305-12.

Mongkalangoon P, Grieco JP, Achee NL, Suwonkerd W, Chareonviriyaphap T. Irritability and repellency of synthetic pyrethroids on an Aedes aegypti population from Thailand. J Vector Ecol 2009;34:217-24.

Roberts DR, Chareonviriyaphap T, Harlan HH, Hshieh P. Methods of testing and analyzing excitorepellency responses of malaria vectors to insecticides. J Am Mosq Contr Assoc 1997;13:13–7.

Chareonviriyaphap T, Roberts DR, Andre RG, Harlan HJ, Manguin S, Bangs MJ. Pesticide avoidance behavior in Anopheles albimanus, a malaria vector in the Americas. J Am Mosq Contr Assoc 1997;13:171-83.

Mantel N, Haenzel W. Statistic aspects of the analysis of data from retrospective studies of diseases. J Natl Cancer Inst 1959;22:719-48.

Thai AGDP network vlog. Survival Analysis [Internet]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 17 ก.ย. 2555]. เข้าถึงได้จาก: http://thaiagdpnetworkvlog.blogspot.com/2008/03/survival-analysis.html

Palsson K, Thomas and G.T Jaenson. Plant products used as mosquito repellents in Guinea Bissau, West Africa. Acta Tropica 1999;15:39-52.

หนึ่งฤทัย สอนสกุล. ธูปสมุนไพรไล่ยุง [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 ส.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post- doc/20170109120425.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2024

How to Cite

1.
สุกระ ก, ทองขาว ค, อัตตะ ย, มากคง ก. ประสิทธิศักย์ของสารสกัดจากจิงจูฉ่าย (Artemisia Lactiflora Wall. Ex DC.) เกสรตัวผู้ปาล์มน้ำมัน (Eaeis guineensis Jacq.) และชุมเห็ดเทศ (Cassia alata (L.) Roxb.) ในการออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำ และฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้าน. jodpc12sk [อินเทอร์เน็ต]. 23 มกราคม 2024 [อ้างถึง 5 กุมภาพันธ์ 2025];1(2):32-41. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/jodpc12sk/article/view/251