รายงานการสอบสวนโรคปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้
คำสำคัญ:
โรคจากการทำงาน, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, การยศาสตร์, บุคลากรทางการแพทย์, การยกผู้ป่วยบทคัดย่อ
รายงานการสอบสวนโรคจากการทำงานฉบับนี้จัดทำโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ประจำกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
ภายหลังพบกรณีบุคลากรทางการแพทย์ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมรายหนึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับรากประสาท ซึ่งเป็นภาวะที่อาจมีความสัมพันธ์กับลักษณะงานที่ต้องใช้แรงกายซ้ำๆ และท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้คือ เพื่อสอบสวนโรคเฉพาะรายของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับรากประสาทโดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการทำงานกับการเกิดโรคดังกล่าว และนำเสนอแนวทางในการป้องกันโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในกลุ่มเสี่ยง รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้แนวทางการสอบสวนโรคจากการทำงานตาม ACOEM Practical Guidelines (2018) ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลจากประวัติสุขภาพ ประวัติงาน การสังเกตการทำงานในสถานที่จริง และการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมินมาตรฐาน ผลการสอบสวนพบว่า ลักษณะงานของบุคลากรรายนี้มีการก้มโน้มตัวไปด้านหน้า การเอี้ยวลำตัว และการยกผู้ป่วยซ้ำ ๆ ซึ่งจัดเป็นท่าทางที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของหลังส่วนล่าง การประเมินโดยใช้เกณฑ์ทำนายทางคลินิกเพื่อวินิจฉัยโรคปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้คะแนนรวม 8 จาก 13 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง และจากการประเมินการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานตาม Criteria for Determining the Work-Relatedness of nonspecific Low-Back Pain ได้คะแนนรวม 14 คะแนน ซึ่งคิดเป็นความน่าจะเป็นร้อยละ 59 ของการเกิดโรคจากการทำงาน (สูงกว่าค่ากำหนดที่ร้อยละ 50) ข้อเสนอแนะจากผลการสอบสวนคือควรมีการใช้เครื่องทุ่นแรงในกระบวนการทำงาน การอบรมความรู้เรื่องท่าทางการทำงานที่เหมาะสม รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในบุคลากรกลุ่มอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันได้ต่อไป
คำสำคัญ: โรคจากการทำงาน, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, การยศาสตร์, บุคลากรทางการแพทย์, การยกผู้
References
โยธิน เบญจวัง, วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ. อาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน. ใน: มาตรฐานการ
วินิจฉัยโรคจากการทำงานฉบับเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
ธันวาคม 2550: สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน; 2550.
-54.
Nachemson A. The effect of forward leaning on lumbar intradiscal pressure. Acta orthop
scand. 1965;35:314-28.
Wilke HJ, Neef P, Caimi M, Hoogland T, Claes LE. New in vivo measurements of pressures
in the intervertebral disc in daily life. Spine (Phila Pa 1976). 1999;24(8):755-62.
Ellapen TJ and Narsigan S. Work Related Musculoskeletal Disorders among Nurses:
Systematic Review. J Ergonomics. 2014;S4:S4-003.
Yin-gang Zhang, Zhengming Sun, Zhi Zhang, Jian Liu, and Xiong Guo. Risk Factors for
Lumbar Intervertebral Disc Herniation in Chinese Population: A Case-Control Study.
SPINE. 2009;34(25):E918–E922.
Kuijer PPFM, Verbeek JH, Seidler A, Ellegast R, Hulshof CTJ, Frings-Dresen MHW, et al.
Work-relatedness of lumbosacral radiculopathy syndrome: Review and dose-response
meta-analysis. Neurology. 2018;91(12):558-64.
Sun W, Yin L, Zhang T, Zhang H, Zhang R, Cai W. Prevalence of Work-Related
Musculoskeletal Disorders among Nurses: A Meta-Analysis. Iran J Public Health.
;52(3):463-75.
Schröder C, Nienhaus A. Intervertebral Disc Disease of the Lumbar Spine in Health
Personnel with Occupational Exposure to Patient Handling-A Systematic Literature
Review and Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(13):4832.
S .Jorgensen, H .O .Hein and F .Gyntelberg. Heavy lifting at work and risk of genital
prolapse and herniated lumbar disc in assistant nurses. Occup Med. 1994;44:47-9
Kelsey JL, Githens PB, White AA 3rd, Holford TR, Walter SD, O'Connor T, et al. An
epidemiologic study of lifting and twisting on the job and risk for acute prolapsed
lumbar intervertebral disc. J Orthop Res. 1984;2(1):61-6.
Alpantaki K, Kampouroglou A, Koutserimpas C, Effraimidis G, Hadjipavlou A. Diabetes
mellitus as a risk factor for intervertebral disc degeneration: a critical review. Eur Spine J.
;28(9):2129-44.
Shiri R, Karppinen J, Leino-Arjas P, Solovieva S, Varonen H, Kalso E, Ukkola O, ViikariJuntura E. Cardiovascular and lifestyle risk factors in lumbar radicular pain or clinically
defined sciatica: a systematic review. Eur Spine J. 2007;16(12):2043-54.
Leino-Arjas P, Solovieva S, Kirjonen J, Reunanen A, Riihimäki H. Cardiovascular risk factors
and low-back pain in a long-term follow-up of industrial employees. Scand J Work
Environ Health. 2006;32(1):12-9.
Kaila-Kangas L, Leino-Arjas P, Riihimäki H, Luukkonen R, Kirjonen J. Smoking and
overweight as predictors of hospitalization for back disorders. Spine (Phila Pa 1976).
;28(16):1860-8.
Judith I. Kuiper, Alex Burdorf, Monique H.W. Frings-Dresen, P. Paul F.M. Kuijer, Freek
LÖtters, Dick Spreeuwers, et al. Criteria for determining the work-relatedness of
Nonspecicfic low-back pain. Amsterdam: Coronel Institute of Occupational Health; 2004.
แสงดาว อุประ. เครื่องมือช่วยวินิจฉัยโรคปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานใน
โรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. แนวทางการวินิจฉัยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน. สำนักงาน
ประกันสังคม. 2 มีนาคม 2548.
National Institute for Occupational Safety and Health. Back Belt- Do they prevent injury?
[Internet]. 1996 [cited 2024 November 14]. Available from:
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต