การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่าน API จังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2565
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, API, จังหวัดนราธิวาสบทคัดย่อ
ระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถูกปรับเป็นระบบ Application Program Interface (API) ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อทราบคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวัง และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบโดยคัดเลือกโรงพยาบาลแบบเฉพาะเจาะจง 4 แห่ง จังหวัดนราธิวาส ประเมินคุณลักษณะเชิงปริมาณโดยทบทวนเวชระเบียน ค้นหาผู้ป่วยตามนิยาม คือ ผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลที่มีผลตรวจ ATK หรือRT-PCR ให้ผลบวกระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2565 เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ถูกรายงานเข้าระบบ API ในช่วงเวลาเดียวกัน ประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรายงาน ผลการศึกษา จากการทบทวน 4,710 เวชระเบียน เข้านิยามผู้ป่วย 3,981 ราย รายงานในระบบ API 2,210 ราย ค่าความไว 55.51% ผู้ป่วยในระบบ API 2,631 ราย เข้านิยาม 2,210 ราย ค่ายากรณ์บวก 83.99% ความถูกต้องของการรายงานผู้เสียชีวิตร้อยละ 0 ความทันเวลาของการรายงานเดือนมิถุนายน - กันยายน เท่ากับ 93.22% และเดือนตุลาคม - ธันวาคม เท่ากับ 97.55% ข้อมูล API ที่โรงพยาบาลรายงานทั้งหมดมีความเป็นตัวแทนทั้งเพศ อายุ เดือนที่พบผู้ป่วย และอำเภอที่พบผู้ป่วย แต่ข้อมูล API ที่กระทรวงอนุมัติไม่มีความเป็นตัวแทนด้านเวลา ผู้ปฏิบัติงานทุกโรงพยาบาลมีความเห็นว่าระบบมีความง่ายมากกว่าระบบรายงานเดิม ช่วยลดระยะเวลาในการจัดทำรายงานและลดขั้นตอนในการส่งไฟล์ข้อมูลให้เครือข่ายแต่ละระดับ ความไวของระบบเฝ้าระวังอยู่ระดับพอใช้ เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้านิยามไม่ถูกรายงานในระบบ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัยรหัส U 07.1, U 07.2 และเจ้าหน้าที่กำหนดวันในการส่งออกข้อมูลย้อนหลังไม่ครอบคลุม ดังนั้นควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่แพทย์และผู้เกี่ยวข้องในการลงรหัสวินิจฉัยให้ถูกต้อง รวมถึงปรับปรุงเทคนิคและขั้นตอนการรายงาน เพื่อพัฒนาระบบและความถูกต้องของข้อมูลสำคัญ ได้แก่ การเสียชีวิต ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และวันเริ่มป่วย
คำสำคัญ: ประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, API, จังหวัดนราธิวาส
References
World Health Organization. Origin of SARS-CoV-2 [Internet]. 2020 [cited 2022 Nov 30].
Available from: https://www.who.int/publications/i/item/origin-of-SARS-CoV-2
Hussin A Rothan, Siddappa N Byrareddy. The epidemiology and pathogenesis of coronavirus
disease (COVID-19) outbreak [Internet]. 2020 [cited 2022 November 30]. Available from:
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32113704/
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet]. 2020 [cited 2022 November 30]. Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. Case Report; CCR). ประชุมชี้แจงระบบการ
รายงานข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะ endemic; 17-20 พฤษภาคม 2565; ออนไลน์.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบการรายงานข้อมูลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [เข้าถึงวันที่
ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://doeportal.moph.go.th/login.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย Covid-19 ตามพื้นที่ รายสัปดาห์. [เข้าถึงวันที่
กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=-
province.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามการเฝ้าระวังโรคและคู่มือการรายงานโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา
(Coronavirus Disease 2019: COVID-19) กรมควบคุมโรค ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
ปรับปรุง ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2565. [เข้าถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_surveillance/g_surveillance_050565.pdf.
สมรักษ์ ศิริเขตรกรณ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดกรุงเทพมหานคร.
วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2565;2.34-58.
สุทธนันท์ สุทธชนะ, อุบลรัตน์ นฤพนธ์จิกุล, ปรางค์ศิริ นาแหลม, ภัทร์ธีนันท์ ทองโสม. การประเมิน
ระบบ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี วันที่ 10 มกราคม-30
เมษายน 2563. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2564;52.1-9.
อมรรัตน์ ชอบกตัญญู, ชูพงศ์ แสงสว่าง, ธิดาพร เทพรัตน์, สุนิสา แกสมาน, สุไหลย๊ะ หมะและ. การประเมิน
ระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2562. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ
สัปดาห์. 2564;52:625–33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต