ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน-นักศึกษาชายไทยที่ศึกษาในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • ธีร์ธวัช ศรีเพ็ชรสัย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การสูบบุหรี่, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพกับการสูบบุหรี่และปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน-นักศึกษาชายไทยที่ศึกษาในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียจำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพกับการสูบบุหรี่ 4 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยความเชื่อด้านการรับรู้ในโอกาสเสี่ยง  ความเชื่อด้านการรับรู้ความรุนแรง ความเชื่อด้านการรับรู้ถึงประโยชน์  และความเชื่อด้านการรับรู้ถึงอุปสรรค ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67 – 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้เท่ากับ 0.87, 0.96, 0.94, 0.93 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนเพื่อทำนายผลกระทบระหว่างปัจจัยความเชื่อซึ่งเป็นตัวแปรอิสระกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่  ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียน-นักศึกษาชายไทยที่ศึกษาในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 61.9 เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 38.1, ปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพกับการสูบบุหรี่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=143.1)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่านักเรียน-นักศึกษามีความเชื่อด้านการรับรู้ในโอกาสเสี่ยง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=35.2) ด้านการรับรู้ความรุนแรง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=36.6) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=30.8) และด้านการรับรู้ถึงอุปสรรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย=40.5) และปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน-นักศึกษาด้านสายวิชาที่นักเรียนกำลังเรียนส่งผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนเท่ากับ 4.25 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). ควันบุหรี่มือ 2 มือ 3 ความรุนแรงในครอบครัว [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/nrlxS

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบทางสุขภาพจิตจากภัยพิบัติและบาดแผลทางจิตใจที่มีต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน : องค์ความรู้และการช่วยเหลือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

ลักลีน วรรณประพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://202.28.18.232/dcms/basic.php

นันทิชา ฤาชา. พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://202.28.18.232/dcms/basic.php

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.

ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย. สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทย พ.ศ. 2534-2547. กรุงเทพฯ:เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2549.

จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น:สำนักพิมพ์สร้างสรรค์ชีวิตและสังคม; 2545.

Becker MH. The health belief model and personal health behavior. Health educ monogr. 1974;2:324-473.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav. Res. Methods. 2007;39(2):175-91.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student. New York: McGraw-Hill; 1971.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 8th ed. New Jersey: Pearson Education; 2019.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ และวิชานีย์ ใจมาลัย. พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):57-67.

ศศิธร ชิดนายี และวราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561;10(1):83-93.

พรศิริ พันธสี และกาญจนา ศรีสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2563;6(1):45-57.

จิราภรณ์ จันทร์แก้ว และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558;27(2):99-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2024