การพัฒนาสเปรย์ฟิโพรนิลอัดก๊าซในการกำจัดยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์
คำสำคัญ:
ยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์, สเปรย์ฟิโพรนิลอัดก๊าซ, พื้นที่เสี่ยงไข้เลือดออกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาสเปรย์ฟิโพรนิลอัดก๊าซกำจัดยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์จาก 6 พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตาก และพิษณุโลก นำยุงลายบ้านเพศเมีย รุ่นลูกรุ่นที่ 1 จาก 6 พื้นที่ศึกษามาทดสอบความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลง 6 ชนิด โดยเป็นสารไพรีทรอยด์ 5 ชนิด และสารฟิโพรนิล ที่ความเข้มข้น discriminating concentration โดยวิธีขององค์การอนามัยโลก จากนั้น พัฒนาสเปรย์อัดก๊าซและประเมินผลในการกำจัดยุงลายบ้านในตู้ทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า ยุงลายบ้านจาก 6 พื้นที่เสี่ยงดื้อต่อสารไพรีทรอยด์ทั้ง 5 ชนิด โดยมีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ 2.0±2.3-80.0±3.3 แต่มีความไวต่อสารฟิโพรนิลและมีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ 100 โดยอัตราตายเฉลี่ยของยุงลายบ้านมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สเปรย์อัดก๊าซที่มีฟิโพรนิลร้อยละ 0.14 เป็นสารออกฤทธิ์ ให้อัตราตายของยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์จากทั้ง 6 พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกใน 3 จังหวัด ร้อยละ 100 ที่ 24 ชั่วโมง องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์อัดก๊าซกำจัดยุงพาหะนำโรคที่ดื้อสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อป้องกันโรคที่นำโดยยุง
References
Bureau of Vector-Borne Diseases Control (BVBD), Department of Disease Control (DDC). Dengue Fever [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 30]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/506wk/y65/d262766_4765.pdf (In Thai)
Bureau of Epidemiology (BOE), Department of Disease Control (DDC). Reporting of Priority Diseases Guideline, Thailand (Second edition). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing Press; 2012.
Chareonviriyaphap T, Bangs MJ, Suwonkerd W, Kongmee M, Corbel V, Ngoen-Klan R. Review of insecticide resistance and behavioral avoidance of vectors of human diseases in Thailand. Parasit Vectors 2013; 6:280.
Division of Vector Borne Diseases (DVBD), Department of Disease Control (DDC). Reportingof Insecticide Susceptibility in Mosquito Vectors [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 20]. Available from:https://drive.google.com/drive/folders/1Kzxz3iEgyAzNpIDSEWJ0QTy_eVoS7FJY.
Srisa – ard, B. Preliminary research. (Ten edition). Bangkok: Suweriyasan Printing; 2017.
World Health Organization. Monitoring and managing insecticide resistance in Aedes mosquito populations. Interim guidance for entomologists [Internet]. 2016 [cited in 2022 Nov 27]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/204588/WHO_ZIKV_VC_16.1_eng.pdf?sequence=2&isAllowed=y
World Health Organization. Guideline for efficacy testing of household insecticide
products. [Internet] 2009 [cited 2022 Nov 27]. Available from: https://apps.who.int/iris/ bitstream/handle/10665/70071/WHO_HTM_NTD_WHOPES_2009.3_eng.pdf;jsessionid=0B95FB0C3714948BD4D979B62093BB82?sequence=1
Abbott W. A method of computing the effectiveness of an insecticide. J Econ Entomol 1925; 18, 265–267.
Fankhauser B, Dumont P, Hunter III JS, McCall JW, Kaufmann C, Mathis A, Young DR, Carroll SP, McCall S, Chester ST and Soll MD. Repellent and insecticidal efficacy of a new combination of fipronil and permethrin against three mosquito species (Aedes albopictus, Aedes aegypti and Culex pipiens) on dogs. Parasites & Vectors 2015; 8:64
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์ และการอนุญาต