การเฝ้าระวังเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmdium knowlesi ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ปี 2565

ผู้แต่ง

  • ปฐมพร พริกชู สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • มนัสวี พัฒนกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ธุวาพร สุวรรณลา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
  • ภรทิพย์ สุนทรสวัสดิ์ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่

คำสำคัญ:

พลาสโมเดียมโนเลไซ, ยุงก้นปล่องไดรัส คอมเพล็กซ์, ยุงก้นปล่องมินิมัส คอมเพล็กซ์, ยุงก้นปล่องกลุ่มแมคคูเลตัว, ยุงก้นปล่องกลุ่มบาบิรอสตริส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของผู้ป่วยไข้มาลาเรียชนิด Plasmodium knowlesi (Pk) ค้นหาชนิดยุงพาหะนำโรคและสัตว์รังโรค ในพื้นที่พบผู้ป่วยมาลาเรียชนิด Pk บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช (เขาบรรทัด) จำนวน 2 พื้นที่ แต่อยู่คนละฝั่งเทือกเขา ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ภาคใต้ของประเทศไทย โดยผู้ป่วยจากทั้ง 2 พื้นที่ มีประวัติเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีลิงแสมอาศัยอยู่ วิธีการศึกษาจะเก็บตัวอย่างยุงก้นปล่องและตัวอย่างเลือดลิงส่งตรวจหาเชื้อมาลาเรียชนิด Pk ด้วยวิธี Real-time PCR ตัวอย่างยุงก้นปล่องจะเก็บทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ การใช้คนเป็นเหยื่อล่อ, กับดักแสงไฟ, การใช้ลิงเป็นเหยื่อล่อ และการใช้วัวเป็นเหยื่อล่อ ยุงก้นปล่องที่ได้จากทุกวิธีการจะจำแนกชนิดด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและแบ่งยุงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนท้อง นำไปผ่าเพื่อดูระยะของรังไข่ ส่วนที่ 2 คือ ส่วนหัวและส่วนอก นำส่งตรวจหาเชื้อมาลาเรียชนิด Pk และเก็บตัวอย่างเลือดลิงเฉพาะที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ผลการศึกษาการกระจายตัวพบผู้ป่วยมาลาเรียชนิด Pk กระจายตัวอยู่บริเวณแนวเทือกเขาตั้งแต่ชายแดนประเทศไทย - มาเลเซีย ถึงเทือกเขาสันกาลาคีรี ต่อเนื่องจนถึงเทือกเขานครศรีธรรมราช และเก็บตัวอย่างยุงก้นปล่องได้ทั้งหมด 34 ตัว พบเชื้อ Pk ในยุงก้นปล่องจากพื้นที่ อ.ควนโดน จ.สตูล ด้วยวิธีใช้วัวเป็นเหยื่อล่อ 3 ชนิด คือ Anopheles barbirostris group, An. minimus complex, An. maculatus group และจากวิธีใช้คนเป็นเหยื่อล่อ คือ An. barbirostris group ส่วนพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พบเชื้อ Pk ในยุงก้นปล่องจากวิธีใช้คนเป็นเหยื่อล่อคือ An. dirus complex และพบเชื้อ Pk จากตัวอย่างเลือดลิงแสมชนิด Macaca fascicularis จำนวน 1 ตัว การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นชนิดของสัตว์รังโรคและชนิดของยุงก้นปล่องบริเวณเทือกเขาบรรทัดที่มีศักยภาพสามารถเป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียชนิด Pk ได้

References

Cox-Singh J, Davis TM, Lee KS, Shamsul SS, Matusop A, Ratnam S, et al. Plasmodium knowlesi malaria in humans is widely distributed and potentially life threatening. Clin Infect Dis 2008;46(2):165-71.

Ng OT, Ooi EE, Lee CC, Lee PJ, Ng LC, Pei SW, et al. Naturally acquired human Plasmodium knowlesi infection, Singapore. Emerg Infect Dis 2008;14(5):814-6.

Van den Eede P, Van HN, Van Overmeir C, Vythilingam I, Duc TN, Hung le X, et al. Human Plasmodium knowlesi infections in young children in central Vietnam. Malar J 2009;8:249.

Figtree M, Lee R, Bain L, Kennedy T, Mackertich S, Urban M, et al. Plasmodium knowlesi in human, Indonesian Borneo. Emerg Infect Dis 2010;16(4):672-4.

Luchavez J, Espino F, Curameng P, Espina R, Bell D, Chiodini P, et al. Human Infections with Plasmodium knowlesi, the Philippines. Emerg Infect Dis 2008;14(5):811-3.

Putaporntip C, Hongsrimuang T, Seethamchai S, Kobasa T, Limkittikul K, Cui L, et al. Differential prevalence of Plasmodium infections and cryptic Plasmodium knowlesi malaria in humans in Thailand. J Infect Dis 2009;199(8):1143-50.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ประเทศไทย พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ประทีป ด้วงแค. สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม; 2541.

World Health Organization. Malaria entomology and vector control guide for participants [Internet]. 2013 [cited 2023 Dec 7]. Available from: https://www.scribd.com/document/620411635/Malaria-Entomology-and-Vector-Control-Guide-for-Participants

Rattanarithikul R, Harrison BA, Harbach RE, Panthusiri P, Coleman RE, Panthusiri P. Illustrated keys to the mosquitoes of Thailand. IV. Anopheles. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006;37 (Suppl 2):1-128.

Divis PC, Shokoples SE, Singh B, Yanow SK. A TaqMan real-time PCR assay for the detection and quantitation of Plasmodium knowlesi. Malar J. 2010;9:344. Doi: 10.1186/1475-2875-9-344

Pramasivan S, Ngui R, Jeyaprakasam NK, Liew JWK, Low VL, Hassan NM, et al. Spatial distribution of Plasmodium knowlesi cases and their vectors in Johor, Malaysia: in light of human malaria elimination. Malar J 2021;20:426. Doi: 10.1186/s12936-021-03963-0

Yunos NE, Sharkawi HM, Hii KC, Hu TH, Mohamad DSA, Rosli N, et al. Spatio-temporal distribution and hotspots of Plasmodium knowlesi infections in Sarawak, Malaysian Borneo. Sci Rep 2022;12:17284. Doi: 10.1038/s41598-022-21439-2

สกุลทิพย์ เอมสกุล, ชำนาญ อภิวัฒนศร, มฑิรุทธ มุ่งถิ่น และคณะ. อัตราการติดเชื้อพลาสโมเดียมโนวลิไซด์ในยุงก้นปล่อง คน ลิง และค่างในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2553;10(1):14-26.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2562.

Vythilingam I, Wong ML, Wan Yussof WS. Current status of Plasmodium knowlesi vectors: a public health concern?. Parasitology 2018;145(1):32-40.

Maeno Y, Quang NT, Culleton R, Kawai S, Masuda G, Nakazawa S, et al. Humans frequently exposed to a range of non-human primate malaria parasite species through the bites of Anopheles dirus mosquitoes in South-central Vietnam. Parasites Vectors 2015;8:376.

บริษัท อีแน็ค (ไทยแลนด์) จำกัด [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 11 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.enac-club.com/knowledge/nature/mammal/crab_eating_macaque.html

Putaporntip C, Jongwutiwes S, Thongaree S, Seethamchai S, Grynberg P, Hughes AL. Ecology of malaria parasites infecting Southeast Asian macaques: evidence from cytochrome b sequences. Mol Ecol 2010;19(16):3466–3476.

Chin AZ, Maluda MCM, Jelip J, Jeffree MSB, Culleton R, Ahmed K. Malaria elimination in Malaysia and the rising threat of Plasmodium knowlesi. J Physiol Anthropol 2020;39(1):36. Doi: 10.1186/s40101-020-00247-5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-01-2024