ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรสวนทุเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อรณัส มุสิกวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ธัชพงศ์ คลิ้งเคล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ญาณิศา ศรีใส สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • บุณยานุช ทองคำดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, เกษตรกรสวนทุเรียน, สารเคมีทางการเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ลักษณะการใช้สารเคมี ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรสวนทุเรียน และวิเคราะห์ปัจจัยต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนทุเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือเกษตรกรสวนทุเรียน ในจังหวัดนครศรีธรรมราข จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 – กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และใช้สถิติอนุมาน inferential statistics ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.23) อายุ 50-59 ปี (ร้อยละ 48.46) จบมัธยมปลาย (ร้อยละ 29.23) และมีเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัยและระดับมีความเสี่ยง เท่ากัน (ร้อยละ 32.69) รองลงมาระดับปลอดภัย (ร้อยละ 29.23) และปกติ (ร้อยละ 5.39) เป็นผู้ฉีดพ่นเองหรือรับจ้างฉีดพ่น (ร้อยละ 48.09) ใช้สารกำจัดศัตรูพืช >3 วัน/เดือน (ร้อยละ 64.05) ส่วนมากใช้สารเคมีกลุ่ม Avermectin (ร้อยละ 85.00) ส่วนมากมีความรู้ระดับสูง (ร้อยละ 85.77) ทัศนคติระดับพอเพียง (ร้อยละ 64.62) พฤติกรรมระดับเสี่ยงระดับปานกลาง (ร้อยละ 93.10) ปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนทุเรียนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05 ) ได้แก่ เกษตรกรอายุ ≥ 50-59 ปี เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 0.56 เท่า ของผู้มีอายุ ≥ 20-49 ปี (95% CI 0.33-0.96) เกษตรกรที่สูบบุหรี่ เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 2.73 เท่าของผู้มีที่ไม่สูบบุหรี่ ( 95% CI 1.20-6.20 ) เกษตรกรที่ลักษณะงานเสี่ยงสูง เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในระดับไม่ปลอดภัย 2.04 เท่าของผู้ที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่ำ (95% CI 1.15-3.62) ปัจจัยด้านอายุ การสูบบุหรี่ ลักษณะการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ข้อสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ เสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพแก่กลุ่มปลูกทุเรียน

References

กรมวิชาการเกษตร. ความสำคัญทางเศรษฐกิจของทุเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก :https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/history/01-03.php

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จำนวนครัวเรือนผู้ปลูกทุเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/durian%20Household%2048-62(1).pdf

สถานบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. การจัดการผลิตทุเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. สรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/hort/wpcontent/uploads/

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูทุเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-08.php.

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สารกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.pharmaco.vet.ku.ac.th/pdf_file/Pesticide_20161020.pdf

ศิริวรรณ แนเจริญ, อรพันธ์ อันติมานนท์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์. คู่มือสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขปจะจำหมู่บ้าน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th /songkhla-manual-files-391191791804

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือตรวจโคลีนเอสเตอเรส [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads/files/151f742628c5261c7d2062ff5c61123f.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-07-2024