การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
- บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
- มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
- บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
- บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
คำแนะนำผู้แต่ง
ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
ชนิดของต้นฉบับ
1. บทความชนิด Original Research: เป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น จำนวนคำไม่เกิน 4,500 คำ เอกสารอ้างอิงไม่เกิน 45 รายการ ภาพและ/หรือตารางรวมกันไม่เกิน 6 ภาพ และ/หรือ ตาราง
Abstract (บทคัดย่อ) ควรเรียงตามลำดับหัวข้อ ได้แก่ คำนำ (Introduction), วัตถุประสงค์ (objectives), วิธีการทำ (method), ผลการศึกษา (results) และ ผลสรุป (conclusion) รวมแล้ว ไม่เกิน 250 คำ
ในส่วนท้ายของบทความ ขอให้ผู้นิพนธ์ระบุข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมหลังหัวข้อ Conclusion และก่อนถึงรายการ References ตามลำดับดังต่อไปนี้:
Disclosure: ระบุข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) เพื่อความโปร่งใส
Availability of Data and Material: ชี้แจงถึงการเข้าถึงข้อมูลหรือวัสดุที่ใช้ในงานวิจัย
Ethic Approval: ระบุการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
Funding Statement: ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนที่สนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ (ถ้ามี)
Author Contributions: ชี้แจงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่ละคน
Acknowledgment: แสดงความขอบคุณต่อบุคคลหรือองค์กรที่มีส่วนช่วยเหลือในงานวิจัย
2. บทความชนิด Brief report: เป็นภาษาอังกฤษ เท่านั้น Original Research: จำนวนคำไม่เกิน 2,000 คำ เอกสารอ้างอิงไม่เกิน 25 รายการ ภาพและ/หรือตารางรวมกันไม่เกิน 4 ภาพ และ/หรือ ตาราง ต้องมีบทคัดย่อเช่นเดียวกับบทความชนิด original article
3. บทความชนิด case report: บรรยายถึงผู้ป่วยที่น่าสนใจ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมสั้นๆ ไม่เกิน 3,500 คำ เอกสารอ้างอิงไม่เกิน 45 รายการ ภาพและ/หรือตารางรวมกันไม่เกิน 5 ภาพ และ/หรือ ตาราง ต้องมีบทคัดย่อเช่นเดียวกับบทความชนิด original article
4. บทความชนิด ทบทวนบทความ (review article): บทความเรื่องที่น่าสนใจในสาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม: จำนวนคำไม่เกิน 5,000 คำ เอกสารอ้างอิงไม่เกิน 45 รายการ ภาพและ/หรือตารางรวมกันไม่เกิน 4 ภาพ และ/หรือ ตาราง ต้องมีบทคัดย่อสรุปเนื้อหา ในตอนต้น ความยาว 150-250 คำ
5. บทความชนิด Image challenge: บทความที่นำเสนอภาพผู้ป่วย รอยโรคที่พบในผู้ป่วย หรือ ภาพถ่ายรังสีที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้ตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง และทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคหรือภาวะนั้นๆ ความยาวไม่เกิน 1,000 คำ เอกสารอ้างอิงไม่เกิน 10 รายการ
คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับงานวิจัยและรายงานสั้น
งานวิจัยต้นฉบับและรายงานสั้นควรมีโครงสร้างดังนี้: หน้าชื่อเรื่อง บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการ ผลลัพธ์ อภิปราย และบทสรุป
หน้าชื่อเรื่อง (Title page) ควรประกอบด้วย:
1. ชื่อบทความ
2. รายชื่อเต็มและที่อยู่สถาบันของผู้เขียนทุกคน
3. ระบุผู้เขียนที่ติดต่อได้ (ชื่อ อีเมล ที่อยู่ทางไปรษณีย์ และหมายเลข ORCID หากมี)
บทคัดย่อ
บทคัดย่อต้องจำกัดไว้ที่ 250 คำหรือน้อยกว่า ไม่ควรใช้คำย่อหากไม่จำเป็น และไม่ควรอ้างอิงในบทคัดย่อ บทคัดย่อต้องมีโครงสร้างด้วยหัวข้อแยกดังนี้: บทนำ วิธีการวิจัย ผลลัพธ์ บทสรุป และ การลงทะเบียนการทดลอง (ถ้ามี)
คำสำคัญ: สามถึงหกคำที่แสดงถึงเนื้อหาหลักของบทความ
บทความควรประกอบด้วย:
บทนำ: ส่วนภูมิหลังควรอธิบายพื้นฐานของการศึกษา จุดประสงค์ สรุปวรรณกรรมที่มีอยู่ และเหตุผลที่จำเป็นต้องทำการศึกษานี้
วิธีการวิจัย: ส่วนวิธีการควรรวมถึงจุดมุ่งหมาย รูปแบบงานวิจัย ลักษณะของผู้เข้าร่วม คำอธิบายที่ชัดเจนของกระบวนการ และการเปรียบเทียบทั้งหมด ประเภทของการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ รวมถึงการคำนวณจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษา (หากเกี่ยวข้อง)
ผลลัพธ์: ควรนำเสนอผลการศึกษา โดยรวมผลการวิเคราะห์ทางสถิติหากเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์เหล่านี้ต้องถูกรวมไว้ในเนื้อหาหรือเป็นตารางและรูปภาพ
อภิปราย: ส่วนนี้ควรอภิปรายถึงผลกระทบของผลการค้นพบ เปรียบเทียบและเปรียบเทียบผลลัพธ์กับงานวิจัยที่มีอยู่ และกล่าวถึงข้อจำกัดของการศึกษา
บทสรุป: ส่วนนี้ควรระบุข้อความสำคัญที่ต้องการสื่อสารอย่างชัดเจน และให้คำอธิบายถึงความสำคัญและความเกี่ยวข้องของการศึกษาที่รายงาน
คำแนะนำสำหรับการเตรียมบทความรายงานกรณีศึกษา
รายงานกรณีศึกษาควรมีโครงสร้างดังนี้: หน้าชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ การนำเสนอกรณี อภิปราย/ทบทวนวรรณกรรม และบทสรุป
หน้าชื่อเรื่อง (ตามคำแนะนำในงานวิจัยต้นฉบับ)
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อมีไว้เพื่อสรุปกรณี ประเด็นหลัก และข้อความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร โดยทั่วไปควรกระชับ ไม่ควรเกิน 150-250 คำ
บทนำ:
บทนำให้ภาพรวมสั้นๆ ของปัญหาที่กรณีนี้กล่าวถึง พร้อมการอ้างอิงจากวรรณกรรมที่มีอยู่หากจำเป็น จบด้วยประโยคแนะนำผู้ป่วยและสภาวะทางการแพทย์หลักของพวกเขา
การนำเสนอผู้ป่วย: ส่วนนี้ควรมีเความเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยที่มานำเสนอ และมีจัดระเบียบ ดังนี้:
· คำอธิบายผู้ป่วย
· ประวัติของผู้ป่วย
· ผลการตรวจร่างกาย
· ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาและการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
· แผนการรักษา
· ผลลัพธ์ที่คาดหวังและเกิดขึ้นจริงจากการรักษา
การอภิปรายและทบทวนวรรณกรรม:
การอภิปรายควรเน้นประเด็นที่ยกขึ้นในบทนำ เน้นความสำคัญของกรณีและปัญหาที่กล่าวถึง รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรายงานกรณีกับวรรณกรรมที่มีอยู่
บทสรุป:
รายงานกรณีสรุปด้วยการสรุปประเด็นสำคัญที่ครอบคลุมอย่างกระชับ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความยินยอมของผู้ป่วย:
ควรได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนนำภาพของผู้ป่วยมาเผยแพร่ และ ผู้เขียนต้องละเว้นการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ที่อาจบ่งบอกถึงตัวตนของผู้ป่วย
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับทบทวนบทความ
บทความที่นำมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และต้องได้รับความยินยอมและรับผิดชอบในบทความนี้จากผู้นิพนธ์ทุกท่าน
1. เนื้อความทั่วไปใช้ Arial ภาษาอังกฤษ และ Th Cordia new สำหรับภาษาไทย ขนาด 16 point ในโปรแกรม Microsoft Word
2. เนื้อหาเขียนให้เข้าใจง่าย และมีความชัดเจน โดยเน้นความรู้ที่ทันสมัยและมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน
3. เนื้อหาควรอิงหลักฐานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปให้มากที่สุด
4. วิธีการเขียนบทความให้ใช้ภาษาไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ ควรแปลเป็นภาษาไทย เครื่องหมาย % ควรใช้คำว่า ร้อยละ เป็นต้น ยกเว้น ศัพท์ทางการแพทย์ หรือศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน การใช้ศัพท์บัญญัติอังกฤษ – ไทย ให้อ้างอิงตามพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน
5. การใช้คำที่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นชื่อคนหรือเป็นคำแรกของย่อหน้าให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ นอกนั้นให้ขึ้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก
6. การใช้ชื่อยา ให้ใช้เป็นชื่อ generic ภาษาอังกฤษ เช่น prednisolone
7. ไม่ต้องกำกับภาษาอังกฤษไว้หลังภาษาไทยอีก เช่น คำจำกัดความ ยกเว้นเป็นคำที่ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจไม่ตรงกัน เช่น วัณโรคนอกปอด (extrapulmonary tuberculosis) ให้เขียนเฉพาะครั้งแรกที่กล่าวถึง ครั้งต่อไปเขียนเฉพาะภาษาไทย
8. ใช้อักษรย่อสากล และเขียนคำเต็มก่อนพร้อมวงเล็บอักษรย่อก่อนใช้อักษรย่อครั้งแรก ยกเว้นอักษรย่อของหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐาน
9. ใช้คำให้กระชับ ตัดคำฟุ่มเฟือย เช่น เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ให้ใช้ ก่อให้เกิดอันตราย
10. การใช้วงเล็บ (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ) ให้เคาะช่องว่างที่หน้าและหลังวงเล็บ 1 ครั้ง (ภายในวงเล็บไม่ต้องเคาะ)
11. การใช้ไม้ยมก (ๆ) ให้เคาะช่องว่างที่ข้างหน้า 1 ครั้ง ข้างหลัง 1 ครั้ง
12. ตัวอักษรที่ปนกันระหว่างภาษาไทย-อังกฤษ-ตัวเลข ให้เคาะช่องว่างที่หน้า และหลัง 1 ครั้ง
13. การใช้จุลภาค (,) ทั้งไทย-อังกฤษ, ให้พิมพ์ชิดท้ายคำหน้า แล้วเว้น 1 เคาะก่อนพิมพ์วลีต่อเนื่อง
14. ชื่อเชื้อโรค ให้ใช้ตัวเอียงหมดทั้ง genus และ species เช่น Streptococcus pneumoniae โดยเฉพาะ การเขียนครั้งแรก ครั้งต่อไปเขียนย่อเหลือ S. pneumoniae ถ้าบอกเป็นกลุ่มให้ต่อด้วย spp. เช่น Streptococcus spp. (มีจุดด้วย)
15. หน่วยวัด ใช้คำย่อภาษาไทย เช่น ชั่วโมงเป็นชม. มิลลิกรัมเป็นมก. ยกเว้น กรัม ลิตร ไม่ต้องย่อ หน่วยวัดข้อมูลทางคลินิก เช่น กลูโคส แนะนำให้ใช้ Conventional Unit คือ มก./ดล. หรืออาจใช้ SI Unit
16. คำที่ต้องการยกมาทำดรรชนี (text index) ให้ highlight ไว้ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
17. รูปประกอบ ควรมีความคมชัด ใต้รูปให้ระบุว่ารูปที่เท่าไรพร้อมข้อความอธิบายสั้น ๆ ภาพประกอบควรเป็นภาพจากผู้ป่วยจริงของผู้นิพนธ์ และต้องได้รับอนุญาตให้เผยแพร่จากผู้ป่วยเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด
18. แผนภูมิประกอบ ควรจัดทาขึ้นใหม่ ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด ใต้แผนภูมิให้ระบุว่ารูปที่เท่าไรพร้อมข้อความอธิบายสั้น ๆ
19. ตารางประกอบ ควรจัดทำขึ้นใหม่ ถ้าดัดแปลงมาให้อ้างอิงว่าดัดแปลงมาจากที่ใด เหนือตารางให้ระบุว่าตารางที่เท่าไร พร้อมหัวข้ออธิบายสั้น ๆ ภายในตารางไม่ใช้เส้นแบ่งแนวนอนหรือเส้นแบ่งแนวตั้ง
20. แผนภูมิหรือตารางข้อมูลต่าง ๆ ควรทำ หรือวาดขึ้นใหม่ให้มากที่สุด ใต้แผนภูมิ/ตาราง/รูปให้ระบุว่ารูปที่เท่าไรพร้อมข้อความอธิบายสั้น ๆ
21. การใช้อักษรย่อในรูป แผนภูมิ หรือตาราง ให้อธิบายอักษรย่อกำกับไว้ด้านล่างด้วยเสมอ แม้มีคำย่อในบทความแล้ว
22. การใช้สัญลักษณ์ในตารางให้ใช้ตามลาดับดังนี้ *,†,‡,§,||,¶,**,††,‡‡,§§,|| ||,¶¶ พร้อมอธิบาย
ความหมายใต้ตาราง
23. ในกรณีที่จะใช้สื่อรูป/แผนภูมิ/ตารางประกอบตามรูปแบบเดิมโดยไม่มีการดัดแปลง จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบทความ และได้รับจดหมายหรือ e-mail ตอบอนุญาตจากเจ้าของบทความแล้วแนบมาด้วย
24. การดัดแปลงรูปหรือตาราง ในกรณีที่เป็นตารางกรุณาแปลเนื้อหาเป็นภาษาไทยบางส่วนเพื่อป้องกันปัญหาลิขสิทธิ์
25. ภาพประกอบ ควรเป็นภาพสี (ถ้ามี) ส่วนแผนภูมิจะเป็นสีขาวดำทั้งหมด
1) ภาพหรือแผนภูมิให้วาดลงใน Microsoft Powerpoint ส่วนตารางทำใน Microsoft Word โดยใช้ font เช่นเดียวกับในบทความ
2) กรณีแผนภูมิให้ส่งต้นฉบับใน Microsoft Powerpoint มาด้วย เพราะทีมบรรณาธิการจะตกแต่งให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม
3) แปะภาพและตารางพร้อมทั้งคำบรรยายมาในบทความด้วย ตรงตำแหน่งที่ต้องการให้ภาพหรือตารางอยู่
26. รายชื่อเอกสารอ้างอิงเขียนไว้ท้ายบทความ
1) การเขียนเอกสารอ้างอิง แนะนำให้ใช้โปรแกรม EndNote โดยเลือกรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style) ตัวอย่างดังเอกสารแนบ (http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html)
2) การอ้างอิง: ให้ใส่ตัวเลขแบบยกและมีวงเล็บเปิดปิด (superscript) หลังประโยคที่เกี่ยวข้องในบทความ โดยเรียงลำดับ
27. ลิขสิทธิ์รูปภาพ ภาพถ่าย แผนภูมิ หรือตารางขอให้ผู้นิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องความถูกต้องและเรื่องลิขสิทธิ์