การปนเปื้อนของแคดเมียม และตะกั่วในหอยแครง (Anadara granosa) และหมึก (Loligo formosana) จากตลาดในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ Contamination of Cadmium and Lead in Squid (Loligo formosana) and Blood Cockle (Anadara granosa) Collected from Markets in the Area around Suan Sunandha Rajabhat University and Health Risk Assessment
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก แคดเมียม และ ตะกั่ว
ในหอยแครง (Anadara granosa) และ หมึกกล้วย (Loligo formosana) ที่มีขายตามท้องตลาดในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต ได้แก่ ตลาดเทวราชา ตลาดศรีศรีราชวัตร ตลาดพงษ์ทรัพย์ และตลาดกรุงธน และประเมินผลกระทบ
ทางด้านสุขภาพจากการบริโภคอาหารทะเลที่ปนเปื้อนโลหะหนักทั้ง 2 ชนิดนี้ ผลการศึกษาพบว่าเก็บตัวอย่าง หอยแครง และหมึก จำนวน 36 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ามีปริมาณแคดเมียมในเนื้อหอยแครงอยู่ระหว่าง 0.022 - 6.228 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักเปียก พบมากที่สุดจากตัวอย่างที่เก็บจากตลาดศรีราชวัตร ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ปริมาณแคดเมียมที่พบในหมึกกล้วย อยู่ระหว่าง 0.022 – 1.056 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักเปียก ส่วนปริมาณตะกั่วที่พบในเนื้อหอยแครงทั้ง 3 เดือนอยู่ระหว่าง 0.023 – 1.336 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักเปียก ส่วนปริมาณตะกั่วในเนื้อหมึกอยู่ระหว่าง 0.0001 – 0.781 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักเปียก ปริมาณการปนเปื้อนของแคดเมียมในเนื้อหอยแครงเกินมาตรฐานของสหภาพยุโรป (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักเปียก) จำนวน 8 ตัวอย่าง และหมึกกล้วยจำนวน 1 ตัวอย่าง ส่วนปริมาณตะกั่วในเนื้อหอยแครง
ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ FAO/WHO (2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำหนักเปียก) จำนวน 4 ตัวอย่าง เมื่อพิจารณา
การรับสัมผัสในแต่ละวันของแคดเมียม และตะกั่วพบว่าหากบริโภคหอยแครงเกินกว่า 10 กรัม/วัน และบริโภคหมึกกล้วยเกินกว่า 50 กรัม/วัน จะได้รับแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐานการรับสัมผัสในแต่ละวันที่กำหนด
ส่วนความเสี่ยงทางสุขภาพจากตะกั่ว พบว่า หากบริโภคหอย ในอัตรา 120 กรัม/วัน และ หมึกในอัตราตั้งแต่ 200 กรัม/วัน จะมีความเสี่ยงทางสุขภาพ
The objectives of this research were to study contamination of heavy metal such
as lead (Pb) and cadmium (Cd) in blood cockle (Anadara granosa) and squid (Loligo formosana) that were sold in commercial markets near Suan Sunnadha Rajabhat University Dusit including, Thewaraja market, Sriratchawat market, Pongsap market and Krungthon market during September 2012 – November 2012 and assess the health risk that occurred from consumption of seafood contaminated with these 2 heavy metals. The result showed that the collected samples were 36 samples of blood cockle and squid. The result showed that contaminations of cadmium in blood cockle ranged from 0.022 – 6.228 mg/kg wet weight. The maximum concentration of cadmium contaminated in blood cockle was the sample that collected
from Ratchawat market during September 2012. The contamination of cadmium in squid ranged from 0.022 – 1.056 mg/kg wet weight. The contamination of lead in blood cockle ranged from 0.023 – 1.336 mg/kg wet weight. The contamination of lead in squid ranged from 0.0001 – 0.781 mg/kg wet weight. The contaminations of cadmium that exceed the standard of European Union (EU) (1 mg/kg wet weight) were found in 8 samples of blood cockle and 1 sample of squid.
The contaminations of lead that exceed the standard of FAO/WHO (2 mg/kg wet weight) were found in 4 samples of blood cockle. When considered the daily exposure of cadmium and lead,
it showed that consumption of blood cockle more than 10 g/day and consumption of squid more than 50 g/day could have the risk to obtain cadmium exceeding the daily exposure standard guideline. The result of risk assessment of lead exposure revealed that consumption of blood cockle at the rate 120 g/day and squid at the rate 200 g/day can cause the health risk.