ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม Factors affecting the overall result of Local Health Security Fund in Samut Songkhram Province

Main Article Content

จุฑามาส ใจพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนระหว่างกรรมการที่มีเพศ อายุ การศึกษา รายได้ ตำแหน่งที่
เข้ามาเป็นกรรมการ ความรู้เกี่ยวกับกองทุน ทัศนคติการบริหารจัดการกองทุน การรับรู้ประโยชน์ของกองทุน การรับรู้บทบาทของกรรมการต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แปรแกรมสำเร็จรูป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนด้วยการทดสอบที (t-test และความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า กรรมการกองทุนฯชายและหญิงมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน อายุระหว่าง 50-59 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,000 – 24,999 บาท  ตำแหน่งที่เข้ามาเป็นกรรมการกองทุนฯ น้อยที่สุดคือ หัวหน้าการคลัง มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนฯ มากที่สุดในเรื่อง กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยงานต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้าถึงบริการ
อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  มีทัศนคติการบริหารจัดการกองทุนมากที่สุดในเรื่อง กองทุนหลักประกันสุขภาพ
ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีประโยชน์ต่อประชาชนใน  มีการรับรู้ประโยชน์ของกองทุนมากที่สุดในเรื่องประชาชน
ในพื้นที่ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมาก และมีการรับรู้บทบาทมากที่สุดในเรื่องคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน กรรมการกองทุนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีผลการดำเนินงานกองทุนไม่แตกต่างกัน อายุต่างกันมีผลการดำเนินงาน
ด้านนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รายได้และตำแหน่งที่เข้ามาเป็นกรรมการต่างกัน มีผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านการมีส่วนร่วม และด้านนวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กรรมการกองทุนที่มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนต่างกันมีผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านบริหารจัดการ และด้านการมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติการบริหารจัดการกองทุน การรับรู้ประโยชน์ของกองทุน และการรับรู้บทบาทของกรรมการต่างกันมีผลการดำเนินงานโดยรวม ด้านบริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านนวัตกรรมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับ
การดำเนินงานกองทุน  การมีส่วนร่วมในการดำเนินกองทุนด้าน และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน
เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อกองทุนและประชาชนในพื้นที่


The purpose of this research is to study overall result of Local Health Security Fund,
to compare result of Local Health Security Fund according to the demographic variables: sex, age, education, income, position, knowledge about the fund, attitude, and perspective.
The sample was 285 personnel who work at local health security fund committee. The data was collected using questionnaires, which were conducted by the researchers. The statistics used for analyzing the data were percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test,
and one–way ANOVA.


The result revealed that the proportion of male and female committees were similar. Age between 50-59 years holding bachelor’s degree. Their income is around 10,000 – 24,999 baht and they consist the least of heads of finance. They’re most knowledgeable in the Public Health Security Fund that was established to support and encourage departments
in public health services for accessibility to the population and efficiency. They have the most attitude towards management of the fund in terms of Local Health Security Fund that benefits the populace. The most recognized benefit from the Public Health Security Fund for the fund among these personnel is that the fund helped improve healthcare for the population in the area. They recognized the most that the committee of the Health Security Fund reviews
the project or activity so that it goes in line with the objective of the fund. Local Health Security Fund committee members’ sex and education do not affect their result, but the differences
in age impacted innovation performance at statistical significance of 0.05. Local Health Security Fun committee members’ income and entry position impacted overall operation, participation, and innovation performance at statistical significance of 0.05. Acknowledgement of the Benefits of the fund did not impact overall operation, participation, and innovation performance
at statistical significance of 0.05. Attitude towards management of the fund, acknowledgement of the benefits of the fund, and Recognition of the committee’s members’ roles did impact overall operation, management, participation, and innovation performance at statistical significance of 0.05. Thus, executives or related personnel should have guidelines for promoting and developing awareness about Local Health Security Fund, participation in the operation
of the fund and promoting health innovations in the community for the maximum benefit of the fund and population in the area.

Article Details

บท
Articles