ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี Factors Related to Oral Health Care Behaviors in Pre-School Children among Parents in Child Development Centers, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province

Main Article Content

สมพร แก้วทอง
เปมิกา ฉิมคง
อมลวรรณ แก้วละมุล
ดุษฎี เจริญสุข
วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 152 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการทดสอบ Fisher’s Exact Test และสถิติการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman correlation coefficient)


ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.79 มีอายุระหว่าง 40-59 ปี
ร้อยละ 53.95 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 32.24 รายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ในช่วง 0-150000 บาท ร้อยละ 48.03 มีระดับการศึกษาสูงสุดคือมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.74 เป็น บิดา-มารดา ของเด็ก ร้อยละ 63.16 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.33ในส่วนปัจจัยด้านความรู้ , ปัจจัยทัศนคติ และปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.34, 58.55, 59.21  ตามลำดับ) สำหรับปัจจัยเสริมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 75.66 จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยนำด้านความรู้ความในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน (  = 0.236 , P-value = 0.003) ปัจจัยนำด้านทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ( = 0.171 , P-value = 0.035) ปัจจัยเอื้อ( = 0.318 , P-value = 0.000) และปัจจัยเสริม ( = 0.328 , P-value = 0.000) มีความสัมพันธ์
ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยนำด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก ปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ


This study was cross sectional analytical study. This study aimed to study oral health care behaviors and factors related to oral health care behaviors of pre-school children in Child Development Centers, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani. There were 152 samples, Simple random sampling method. Data were collected by questionnaries, included to 4 parts: Predisposing factors, Enabling factor, Reinforcing factor and Oral health care behaviors. Data were analyzed by Fisher’s Exact Test and Spearman correlation coefficient.


   The results showed that most of the samples were female 65.79%, aged 40-59 years 53.95%, general employee 32.24%, average income per year were in the 0-150000 range 48.03%, the highest level of education were secondary school 44.74%, most of the samples had oral health care behaviors at a moderate level (49.33%), knowledge factor, attitude factor
and enabling factor were in a moderate level(49.34%, 58.55% and 59.21%). Reinforcing factor was good level (75.66%). Moreover, the analysis showed that  knowledge factor ( = 0.236, P-value = 0.003) attitude factor( = 0.171, P-value = 0.035),enabling factor( = 0.318, P-value = 0.000)and predisposing factor( = 0.328, P-value = 0.000) related to oral health care behaviors at the 0.05 level of significant. In conclusion, attitude factors were very low correlation, knowledge factors, enabling factors and reinforcing factors were relatively low correlation.

Article Details

บท
Articles