ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดสมุทรสงคราม Associated Factors of Sleep Quality among University Students in Samut Songkhram Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรสงครามกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัย
ในจังหวัดสมุทรสงคราม รวมจำนวน 299 คน ได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเพศชายร้อยละ 11.7 และเพศหญิงร้อยละ 88.3 นักศึกษามีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ร้อยละ 86.3 และ
มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 13.7 ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษา ผู้วิจัยขอเสนอแนะเพิ่มเติมคือให้มีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยเพิ่มเติม และควรทำการศึกษาเชิงคุณภาพ เพราะอาจจะมีปัจจัยที่เกี่ยวกับสถานที่ ที่นักศึกษาศึกษา หรือ
พักอาศัยอยู่โดยตรง และควรทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัย
The objective of this research was to investigate the factors associated with sleep quality in university student in Samut Songkhram Province. The study participants were 299 male and female students. The data were collected by using general information questionnaire, Beck Depression test and Thai-PSQI questionnaire. The data were analyzed in term
of percentage, mean and standard deviation. The results showed that university students
in Samut Songkhram Province comprised 11.7 percent of male and 88.3 percent of female, 86.3 percent of them had good sleep quality and 13.7 percent had poor sleep quality. No factors were found to be associated with sleeping quality in university students. The researcher suggested that further study should be conducted to investigate additional factors that might be associated with sleeping quality in university students. Qualitative research should
be performed to determine factors that might be directly related to the place of study and residence of the students. The additional study on the enhancement of sleep quality in the university students should also be conducted.