พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ทัศนีย์ จิรถาวรอนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยเปรียบเทียบแต่ละตัวแปร จำแนกตาม เพศของนักเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และอาชีพของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 437 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test ผลการศึกษาพบว่า


1.นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับปานกลาง มีเจตคติในระดับสูง และมีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ในระดับปาน


2.นักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่านักเรียนชายมีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนหญิง


3.นักเรียนที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่คะแนนโดยใช้วิธีนิวแมน – คูลส์ (Newman – Keuls Method) พบว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์แตกต่างจากนักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4.นักเรียนที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่คะแนน โดยใช้วิธีนิวแมน – คูลส์ (Newman – Keuls Method) พบว่า นักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษา มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างจากนักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรีหรือสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


5.นักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกัน มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่คะแนน โดยใช้วิธีนิวแมน – คูลส์ (Newman – Keuls Method) พบว่า นักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง มีการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างจากนักเรียนที่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Articles

References

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. การคาดประมาณแนวโน้มเอดส์ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จาก: http://aidssti.ddc.moph.go.th

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534

ศิริวรรณ อานันทสิทธิ์. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทชั้นเรียน เขตกรุงเทพ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2559

ยิ่ง สายสุวรรณ และวิเชียร ประเสริฐ. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารกองโรคเอดส์ 2542; 10: 643

ประภาพรรณ เปลี่ยนแก้ว. ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียน

พลตำรวจ โรงเรียนตำรวจนครบาลสังกัดกองบัญชาการศึกษากรมตำรวจ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2550