การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพค้าขายริมทางจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจ ในเขตตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์
ขวัญแข หนุนภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพค้าขายริมทางจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจ ในเขตตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบอาชีพค้าขายริมทางจำนวน 52 คน การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจดำเนินการตามวิธีมาตรฐานของ NIOSH Manual of Analytical Method Number 0600 และการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้ใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพตามแนวทางของ United States Environmental Protection Agency และอธิบายความเสี่ยงในกรณีผลกระทบแบบไม่ใช่การเกิดมะเร็งผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจเฉลี่ยเท่ากับ 0.199 ± 0.13 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ค่าความเข้มข้นสูงสุดและค่าความเข้มข้นต่ำสุดอยู่ที่ 0.875 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร และ 0.013 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ เมื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กทางการหายใจ พบว่า ค่าเฉลี่ยสัดส่วนความเสี่ยงเท่ากับ 1.96 ± 1.19 ส่วนใหญ่มีอันตรายอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.84 รองลงมาคือ มีอันตรายอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 19.23 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการดำเนินการจัดการความเสี่ยงโดยให้ความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพริมทางเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองและแนะนำให้ผู้ประกอบอาชีพค้าขายริมทางสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น

Article Details

บท
Articles

References

กรมควบคุมมลพิษ. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/02/pcdnew-2021-02-18_08-03-46_086635.pdf

สุธารัตน์ หมื่นมี และ ศุษิระ บุตรดี. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการได้รับฝุ่น PM2.5 จากพื้นที่อุตสาหกรรมใน อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วารสารนเรศวรพะเยา 2564; 14(3):95-110

ธีระชัย ทองเหลือ, พรพรรณ สกุลคู, ธานี เทศศิริ, ศักดิ์ดา ดาดวง และ ภัคชัญญา แพงคำแหง. ปริมาณความเข้มข้น ชนิด และปริมาณโลหะหนักของฝุ่นละอองในอากาศขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564;14(1):578-84

ธีรพงศ์ บริรักษ์. ถอดบทเรียนวิกฤต PM 2.5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;13(3):43-58

กรมควบคุมมลพิษ. คุณภาพอากาศบริเวณ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง, ปทุมธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/station.php?station=20t

กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0000/00000200.PDF

เทศบาลท่าโขลง. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน เทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://thakhlong.go.th/public/listupload/backend/list_153/files_322_1.pdf

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอคลองหลวง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอคลองหลวง

National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). Particulates not otherwise regulated, respirable 0600 [Internet]. 1998 [cited 2021 November 16]. Available from: https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/0600.pdf

Occupational Safety and Health Administration. Particulates not Otherwise Regulated, Total and Respirable Dust (PNOR)† [Internet]. 2021 [cited 2021 August 1]. Available from: https://www.osha.gov/chemicaldata/801

U.S. EPA. Risk Assessment Guidance for Superfund Volume I Human Health Evaluation Manual (Part A) [Internet]. 1989 [cited 2022 March 28]. Available from: https://www.epa.gov/risk/risk-assessment-guidance-superfund-rags-part

นิตยา ชาคำรุณ และ ลักษณีย์ บุญขาว. การประเมินปริมาณฝุ่นละอองของคนงานทำอิฐมอญแดง ในตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 21(1):68-75

เสาวคนธ์ อุชัย, ภัทรสุดา ชุมกาแสง, นพรัตน์ รัตนะวงษา และ ฐาปกรณ์ คำหอมกุล. ความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในป้อมตำรวจจราจรบริเวณถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา2564;6(1):12-25

ศิริอุมา เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, น้ำเพชร หมื่นราช, อโณทัย เกื้อกูล. การประเมินความเสี่ยงในการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างชุมชนที่อยู่ใกล้และไกลโรงโม่หิน จังหวัดนครศรีธรรมราช. 2562; 27(2): 336-48

U.S. EPA. Health and environmental effects of particulate matter (PM) [Internet]. 2018. [cited 2023 April 25]. Available from: https://www.epa.gov/pm-pollution/health-and-environmental-effects-particulate-matter-pm