องค์ประกอบทางเคมีและสารปนเปื้อนในดอกเกลือทะเลจากจังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและสารปนเปื้อนในดอกเกลือทะเลจากจังหวัดสมุทรสงคราม โดยตัวอย่างดอกเกลือทะเลจากนาเกลือ ในเดือนมีนาคม และเมษายน 2560
ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมชนิดละลายน้ำ แมกนีเซียมชนิดละลายน้ำ โปแตสเซียม ไอโอดีน วิเคราะห์สารปนเปื้อน ได้แก่ โครเมียม ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว แมงกานีส ซัลเฟต สารหนู แคดเมียม รวมถึงการวิเคราะห์ความชื้น โดยวิธีทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เกลือบริโภค ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนใช้วิธีการไทเทรตแบบไอโอโดเมตริก พบว่าในดอกเกลือทะเลจากทุกแหล่งสำรวจตรวจพบแคลเซียมชนิดละลายน้ำ แมกนีเซียมชนิดละลายน้ำ แมงกานีส โปแตสเซียม ซัลเฟต ความชื้น โซเดียมคลอไรด์ และไอโอดีน แต่ไม่พบแคดเมียม โครเมียม ทองแดง และเหล็ก องค์ประกอบทางเคมีหลักคือโซเดียมคลอไรด์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91.7±1.9 โดยน้ำหนัก รองลงมา ได้แก่ แคลเซียมชนิดละลายน้ำ และแมกนีเซียมคลอไรด์ชนิดละลายน้ำ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.21±0.12 และ 1.04±0.22 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ พบการปนเปื้อนของสารหนูและตะกั่วจาก 2 ใน 3 แหล่ง เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างเกลือตัวอย่างกับมาตรฐานที่เกี่ยวกับเกลือในประเทศไทย และพบว่าสารหนู ทองแดง ตะกั่ว ความชื้น โซเดียม คลอไรด์ และไอโอดีน เป็นที่น่าพอใจและ
ไม่พบองค์ประกอบเกินค่ากำหนดของมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้น สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการนำเสนอคุณสมบัติพิเศษของดอกเกลือทะเลของจังหวัดสมุทรสงครามและเพื่อการใช้ประโยชน์ของข้อมูลเชิงพาณิชย์ต่อไป
Article Details
References
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดสมุทรสงคราม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/samutsongkhram-dwl-files-431391791866.
Stickney R. Encyclopedia of Aquaculture. The United States of America: A Wiley-Inter Science Publication John Wiley and Sons, Inc.; 2000.
Chester R. Trace elements in the oceans, in: Chester, R. (Ed.), Marine Geochemistry. Springer Netherlands, Dordrecht; 1990: 346–421.
กรมส่งเสริมการเกษตร. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรการผลิตเกลือ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2564.
พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.baac.or.th/file-upload/2006-07-28-251-porobo.pdf.
สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.8402-2562) เกลือทะเลธรรมชาติ. กรุงเทพฯ; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2562.
ชุษณา เมฆโหรา, เนตรนภิส วัฒนสุชาติ, วิชชา ตรีสุวรรณ และ ญาธิปวีร์ ปักแก้ว. รายงานโครงการ “ต้นแบบผลิตภัณฑ์เกลือลดโซเดียม: การใช้ประโยชน์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์”. เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปี 2560; 2560.
LeeHoward I, Maibach HI. Sea water salts: Effect on inflammatory skin disease - An overview. Dermatologie in Beruf und Umwelt 2004; 52(2): 62-66.
Khemani LT, Momin GA, Naik MS, Prakasa Rao PS, Kumar R, Ramana Murty BV. Trace elements and sea salt aerosols over the sea areas around the Indian sub-continent. Atomospheric Environment 1985; 19(2): 227-84.
กฤษณา ปาสานำ, พัชรีย์ จิตตพิทักษ์ชัย, วชิราภา เขียวรอด, นิยม วงศา, ภัสรา ทัศนบรรจง และอังคณา จิตต์จำนง. ศึกษาคุณสมบัติของเกลือทะเลในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามและเพชรบุรี. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสาคร; 2557.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกลือบริโภค (มอก.2085-2544). กรุงเทพฯ; กระทรวงอุตสาหกรรม; 2554.
Codex standard for grade salt CX STAN 1050-1985, Rve. 1-1997 Amend.1999, Aminde.2-2001, Amend.3-2006. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565]. http://siweb1.dss.go.th/standard/ Fulltext/codex/ CXS_150E.pdf
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เกลือทะเล มผช.1230/2549. [อินเตอร์เน็ต] . [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565]. https://tcps.tisi.go.th/ pub/ tcps1230_49.pdf
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 333 (พ.ศ. 2554) เรื่อง เกลือบริโภค. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 41 ง (วันที่ 7 เมษายน 2554).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2560. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการท่องเที่ยวสายเกลือ เพชรสมุทรคีรี. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565]. https://www.thaiseasalt.info/PDF.