การวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ การทำนายคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยากัญชาแผนไทยอายุวัฒนะ

Main Article Content

Chawalit Yongram
Panupan Sripan
Suwadee Chokchaisiri
Rumrada Meeboonya
Orawan Wonganan
Nophadon Luangpirom
Thavatchai Kamoltham
Anuvat Roongpisuthipong
Panyada Panyatip
Ploenthip Puthongking

บทคัดย่อ

ตำรับยาแผนไทยมีการใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ ยาแผนไทยโบราณ โดยตำรับยาเข้ากัญชาเป็นหนึ่งในตำรับที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP รวมไปถึงการวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ด้วยเทคนิค HPLC และปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมของตำรับยาอายุวัฒนะเข้ากัญชา 3 ตำรับได้แก่ ตำรับยาอินทจวร ตำรับยามหาวัฒนะ และตำรับยาแก้ธาตุพิการ นอกจากนี้ยังศึกษาการทำนายคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารแคนนาบินอยด์ที่พบในตำรับยาอายุวัฒนะ จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดตำรับยาอินทจวร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดด้วยค่า IC50 เท่ากับ 54.21±1.81 µg/ml ตามลำดับ ด้วยวิธี ABTS และตำรับยามหาวัฒนะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงด้วยวิธี DPPH และ FRAP โดยทั้ง 3 ตำรับมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมสูง ซึ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิค HPLC พบว่ามีปริมาณของ CBDV และ ∆9-THC เป็นสารที่พบได้มากในตำรับยาอายุวัฒนะในแต่ละตำรับ นอกจากนี้แล้วการทำนายคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์พบว่า สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์มีคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่สมองได้ดี ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดตำรับยาอายุวัฒนะ 3 ตำรับมีความสัมพันธ์กันกับปริมาณฟีนอลิกรวมและกรดแกลลิก จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาทั้ง 3 มีความความสัมพันธ์กันกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวม นอกจากนี้แล้วผลการทดลองนี้สามารถนำไปพัฒนาตำรับยาแผนไทยไปสู่เภสัชภัณฑ์ที่ดีได้

Article Details

บท
Articles

References

Jaicharoensub J, Sakpakdeejaroen I, Panthong S. Validation of HPLC method for quantitative determination of active compounds in Thai traditional herbal medicine to treat gastrointestinal disease. Talanta Open 2023; 7:100227.

Narongvit T, Techapichok S, Panyawaraphirat P, Jintung P, Maranet A. The effectiveness of cannabis used in Thai traditional way on the palliative care patients in Thailand. ART 2021; 26(2): 219-32.

ณัชชา เต็งเติมวงศ์. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตํารับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ในโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง: การศึกษาย้อนหลังเบื้องต้นในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2564; 19(2):331-43.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์). กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

Neergheen-Bhujun VS, Munogee N, Coolen V. Antioxidant and anti-inflammatory efficacies of polyherbal formulations and elixirs traditionally used in Mauritius for the treatment of rheumatoid arthritis. J. Herb. Med. 2014; 4(1):1-9.

รสริน ใจเย็น, ศุภะลักษณ์ ฟักคํา, ยงยุทธ วัชรดุลย์. ผลของตํารับยาอายุวัฒนะต่อคุณภาพการนอนในผู้สูงอายุที่มีภาวะนอนไม่หลับ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2565; 5(2):72-84.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ตำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าด้วยกัญชา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์; 2564.

เพ็ญศรี เนื่องสิกขาเพียร. ยาอายุวัฒนะ. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2545; 1(1):44-56.

Gulcin İ. Antioxidants and antioxidant methods: an updated overview. Arch Toxicol. 2020;94(3): 651-715.

Helcman M, Šmejkal K. Biological activity of cannabis compounds: a modern approach to the therapy of multiple diseases. Phytochem. Rev. 2022; 21:429-70.

Yongram C, Panyatip P, Siriparu P, et al. Influence of maturity stage on tryptophan, phenolic, flavonoid, and anthocyanin content, and antioxidant activity of Morus alba L. fruit. Rasayan J. Chem. 2022; 15(3):1693-701.

Kim DO, Chun OK, Kim YJ, Moon HY, Lee CY. Quantification of polyphenolics and their antioxidant capacity in fresh plums. J. Agric. Food Chem. 2003; 51:6509–15.

Benzie IFF, Strain JJ. The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of “antioxidant power”: The FRAP assay. Anal. Biochem. 1996; 239:70-6.

Panyatip P, Padumanonda T, Yongram C, Kasikorn T, Sungthong B, Puthongking P. Impact of tea processing on tryptophan, melatonin, phenolic and flavonoid contents in mulberry (Morus alba L.) leaves: quantitative analysis by LC-MS/MS. Molecules 2022; 27(15):4979.

Čopra-Janićijević A, Čulum D, Vidic D, Tahirović A, Klepo L, Bašić N. Chemical composition and antioxidant activity of the endemic Crataegus microphylla Koch subsp. malyana KI Chr. & Janjić from Bosnia. Ind. Crops Prod. 2018; 113:75-9.

Chen X, Deng H, Heise JA, et al. Contents of Cannabinoids in Hemp Varieties Grown in Maryland. ACS Omega 2021; 6(47):32186-97.

Sungthong B, Sithon K, Panyatip P, Tadtong S, Nunthaboot N, Puthongking P. Quantitative analysis and In Silico molecular docking screening for acetylcholinesterase inhibitor and ADME prediction of coumarins and carbazole alkaloids from Clausena harmandiana. Rec. Nat. Prod. (2022); 16(4):358-69.

Bojarska J, Remko M, Breza M, et al. A supramolecular approach to structure-based design with a focus on synthons hierarchy in ornithine-derived ligands: review, synthesis, experimental and in silico studies. Molecules 2020; 25(5):1135.

Molole GJ, Gure A, Abdissa N. Determination of total phenolic content and antioxidant activity of Commiphora mollis (Oliv.) Engl. resin. BMC Chemistry 2022; 16:48.

Martínez S, Fuentes C, Carballo J. Antioxidant activity, total phenolic content and total flavonoid content in sweet chestnut (Castanea sativa Mill.) cultivars grown in northwest Spain under different environmental conditions. Foods 2022; 11(21):3519.

Jin D, Dai K, Xie Z, Chen J. Secondary metabolites profiled in cannabis inflorescences, leaves, stem barks, and roots for medicinal purposes. Sci. Rep. 2020; 10:3309.

Dawidowicz AL, Olszowy-Tomczyk M, Typek R. CBG, CBD, ∆9-THC, CBN, CBGA, CBDA and ∆9-THCA as antioxidant agents and their intervention abilities in antioxidant action. Fitoterapia 2021; 152:104915.

Sznarkowska A, Kostecka A, Meller K, Bielawski KP. Inhibition of cancer antioxidant defense by natural compounds. Oncotarget 2017; 8(9):15996-6016.