โปรแกรมการพัฒนาการเกษตรครัวเรือนและชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental Research) วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้สารเคมีในการเกษตรครัวเรือนและชุมชน และสถานการณ์ในด้านพฤติกรรม
การบริโภคผักในครัวเรือน และศึกษาโปรแกรมการพัฒนาการเกษตรครัวเรือนและชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 84 คนโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้าและตามเกณฑ์คัดออก ซึ่งใช้แบบแผนการวิจัยทำการศึกษาแบบเปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนทดลองและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) โดยมีระยะเวลาศึกษา 3 เดือน (12 สัปดาห์) 5 กิจกรรมเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและกิจกรรมประกอบด้วยอบรมให้ความรู้ ทัศนคติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค และฝึกทักษะการปลูกผักปลอดสารพิษ และผักอินทรีย์ในครัวเรือนสำหรับการบริโภคจัดตั้งแกนนำเครือข่ายเกษตรปลอดภัยในครัวเรือนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนในการพัฒนาการเกษตรครัวเรือน ใช้สถิติพรรณนานำเสนอในรูปของตารางแจกแจงความถี่ ข้อมูลแจกแจงเป็นปกติ นำเสนอด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลเป็นค่าคะแนน การเปรียบค่าคะแนนเฉลี่ยความแตกต่าง
ก่อนการทดลองและหลังการทดลองภายในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ Paired Samples t-Test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 และค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการวิจัย พบว่าหลังการพัฒนาการทดลองใช้โปรแกรม
การพัฒนาการเกษตรครัวเรือนและชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาศักยภาพครัวเรือนในการทำเกษตรปลอดสารพิษในครัวเรือน ดีกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) สรุปผลการศึกษาของ พบว่า โปรแกรมการพัฒนาเป็นปัจจัยสำเร็จในการพัฒนาการเกษตรครัวเรือนและชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ และพัฒนาเป็นต้นแบบครัวเรือน ปลูกผักปลอดสารพิษ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผัก และฝึกทักษะการปลูกผักปลอดสารพิษ และผักอินทรีย์
ในครัวเรือนสำหรับการบริโภค สร้างการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในชุมชน นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือน เกิดกลไกลสนับสนุนการบริโภคผักปลอดสารพิษและปลูกผักปลอดสารพิษ และให้คำแนะนำระดับชุมชนแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน
Article Details
References
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2558.
อนุวัตน์ เพ็งพุฒ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. การใช้สารเคมีในเกษตรกร. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
ธนัตถ์นันท์ สุขโชคนิธิโภคิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2562; 2(2):46-55.
มานิต ตันเจริญ. พฤติกรรมการบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษของประชาชน: ศึกษากรณี ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2560; 11(1):35-45.
ประหยัด ช่อไม้. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ 2558; 10(1):15-24.
ธีทัต ศรีมงคล, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช และคณะ. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 33(1):77-89.