ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • อัมรา อุบล -
  • ณฐา เมธาบุษยาธร

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 194 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทั้งนี้ แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปดำเนินการด้วยวิธีการทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ ใช้สถิติไคสแควร์และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 66.49 ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.05 และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ อายุ และสถานภาพสมรส มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน(r=0.47) และแรงสนับสนุนทางสังคม(r=0.59) มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวก กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงควรสร้างแรงจูงใจและเพิ่มการสนับสนุนทางสังคม                                          

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2567). กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.) http://osm.hss.moph.go.th/uploads/news/22902_Laws_OSM-1.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อยกระดับ เป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. https://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?_mode=read&ebookColum=5985#/page/15

ชลิยา ศิริกาล, แจ่มนภา ใขคํา, แก้วใจ มาลีลัย, และถนอมศักดิ์ บุญสู่. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, (12), 59-68.

พิมลกานต์ ติ๊บบุญศรี, และวิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัด สระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(03), 113-113.

มนตรี แสงโพธิ์, พุฒิพงศ์ มากมาย, ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร, ชวลิต หงส์เลิศสกุล, เมธี สุทธศิลป์, วลัยลักษณ์ พันธุรี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. วารสารการบริหารนิติ บุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 1-14.

วิเชียร มูลจิตร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 1(1), 36-50.

วิระดา เสือมาก, และประภา เพ็ญสุวรรณ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เทศบาลตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 3(2), 14-31.

สุภมาส อังศุโชติ. (2556). "การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน". หน่วยที่ 6 ในเอกสารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน กรุงเทพฯ: เจริญดีมันครพิมพ์เอกสารการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน กรุงเทพฯ: เจริญดีมันครพิมพ์.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/

Bartz, A.E.(1999). Basics Statistical Concepts. 4" ed. New Jersey: Prentice Hall.

Bloom, A. (1975). The education of democratic m an: Emile. Daedalus, 25(1), 135-153.

Daniel WW. (2010). Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health sciences (9Th ed). Asia: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-11-2024