การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกประเทศไทยปี พ.ศ. 2565-2566
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความสัมพันธ์, ไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาลักษณะทบทวนข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย รวมถึงค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI และพื้นที่ระบาด กับอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วง 1 เดือนถัดไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Poisson regression ซึ่งมีการควบคุมตัวแปรกวนคือ จำนวนประชากรกลางปี นำเสนอข้อมูลโดยแสดงค่า Incidence Rate Ratio (IRR) และ 95% confidence interval (95% CI)
ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออก คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย p-value <0.001 (95% CI=1.017-1.025) IRR เท่ากับ 1.021 ความชื้นสัมพัทธ์ p-value <0.001 (95% CI=1.043-1.050) IRR เท่ากับ 1.046 อุณหภูมิเฉลี่ย p-value <0.001 (95% CI=1.184-1.199) IRR เท่ากับ 1.191 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI p-value <0.001 (95% CI=1.026-1.031) IRR เท่ากับ 1.029พื้นที่ระบาด p-value <0.001 (95% CI=2.219-2.252) IRR เท่ากับ 2.215 จากการศึกษาครั้งนี้ควรนำปัจจัยด้าน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI และพื้นที่ระบาด มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของไข้เลือดออก รวมถึงนำไปใช้เป็นตัวแปรในการสร้างโมเดลพยากรณ์สถานการณ์ไข้เลือดออกต่อไป
References
กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์ ธรรมศักดิ์ สายแก้ว สุรีย์วรรณ สีลาดเลา และวรางคณา จันทร์คง. (2562). ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5(1), 1-9.
กรมควบคุมโรค. (2565). ไข้เด็งกี่ (Dengue). [สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก dc.moph.go.th/ disease_detail.php?d=44
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2564). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลายสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง.(2567). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. [สืบค้นวันที่ 25 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/dfa7d4e2-b7f5-48ed-b40a-54f1cd4cbdfb/page/cFWgC
ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. (2562). ระดับดัชนีลูกน้ำยุงลายจากแอพพลิเคชั่นทันระบาดกับความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตเมือง. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(23), 353-359.
วาทิต สุวรรณศรี. (2566). ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เทศบาลอุดรธานี ปี 2562-2565. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(1), 28-38.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง.(2561). รายงานประเมินผลการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับประเทศปี 2559-2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์.
อนงค์ บังกระโทก ตระกูลไทย ฉายแม้น และวิรัลพัชร ดิษฐาพันธ์. (2562). อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดสกลนครกับความชุกของลูกน้ำยุงลาย สภาพภูมิอากาศ และปริมาณน้ำฝน จังหวัดสกลนครปี 2562.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 286-298.
de Sousa, S. C., Carneiro, M., Eiras, Á. E., Bezerra, J. M. T., & Barbosa, D. S. (2021). Factors associated with the occurrence of dengue epidemics in Brazil: a systematic review. Revista Panamericana de Salud Pública, 45, 1-9.
Gubler, D.J. and Kuno, G., eds (1997). Dengue and dengue hemorrhagic ferver; its history and resurgence as a global public health problem. In Dengue and Dengue Hemorrhagic Fever, 1-22.
Messina JP, Brady OJ, Pigott DM, Golding N, Kraemer MU, Scott TW, et al. (2015). The many projected futures of dengue. Nat Rev Microbiol, 13(4), 230-239.
New York University. (2022, July 7). Climate factors predict future mosquito activity.
ScienceDaily. Retrieved September 7, 2024 from www.sciencedaily.com/releases/ 2022/07/220707100937.htm
Wang, W. H., Urbina, A. N., Chang, M. R., Assavalapsakul, W., Lu, P. L., Chen, Y. H., & Wang, S.
F. (2020). Dengue hemorrhagic fever–A systemic literature review of current perspectives on pathogenesis, prevention and control. Journal of Microbiology, Immunology and Infection, 53(6), 963-978.
Weaver SC. (2013). Urbanization and geographic expansion of zoonotic arboviral diseases: mechanisms and potential strategies for prevention. Trends Microbiol, 21(8), 360–363.
Wu, P. C., Guo, H. R., Lung, S. C., & Lin, C. Y. (2020). Dengue fever transmission under climate change scenarios in Southeast Asia: a latent transmission model. PLoS Neglected Tropical Diseases, 14(1), e0007957.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย