ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กรของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ความผูกพันองค์กร, บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อวัดระดับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี จำนวน 229 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่าความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 86.00 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กร (r=0.142, r=0.129, p-value<0.05) ตามลำดับ บรรยากาศองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสระบุรี (r = 0.503, r = 0.497 ตามลำดับ, p-value < 0.01)
ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานและผู้บริหารกำหนดนโยบาย ทิศทางและวางแผน
ในการดำเนินงานปรับกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และส่งเสริมความผูกพันองค์กรให้มากขึ้นโดยสร้างบรรยากาศองค์กร และเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
References
ณัฐพร วุฑฒิโกวิทย์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. The factors affecting organizational mutuality of personnel in Thoen hospital, Lampang. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย.
ปนัสยา บารา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาลัยวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยะภัทร พันธ์ซ้อน. (2562). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบุรี. Faculty of Humanities and Social Sciences Thesauri Rajabhat University Journal, 10(1), 65-80.
พาสันต์ กุลศุภกร. (2560). ความผูกพันองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต.สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พิมพ์พจี พันธุลี. (2563). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 30(3), 170-182.
รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิทยา ด่านธำรงกุล. (2546). การบริหาร (Management). กรุงเทพมหานคร: เธร็ดเวฟ เอ็ดคูเคชั่น.
สายทอง โคทอง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
สุภาวิณี กองแก้ว และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Modern Learning envelopment, 6(3), 209-223.
Bloom, A. (1979). The education of democratic man: Emile. Daedalus, 25(1), 135–153.
Bartz, A.E. (1999). Basics Statistical Concepts. 4 th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.
Steers, R.M. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. Satana, Monica, California: Goodyear Publishing Company.
Steers, R.M. and L.W. Porter. (1983). Motivation and Work Behavior. (3rded.). New York:McGraw-Hill Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย