ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ บุตรดาวงค์ Ratchaburi Provincial Public Health Office

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร, พนักงานสังกัดสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี จำนวน 110 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ช่วงการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบ t-test สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.50 มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี ร้อยละ 40.90 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 60.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 41.80 มีตำแหน่งงานเป็นข้าราชการ ร้อยละ 58.20 อยู่ในหน่วยงานกลุ่มงานบริหารทั่วไป ร้อยละ 23.64 และส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.00 มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 5 - 10 ปี

1. ปัจจัยด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน หน่วยงาน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกัน จะมีความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษาและตำแหน่งงานแตกต่างกัน จะมีความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีไม่แตกต่างกัน

2. ปัจจัยด้านลักษณะงาน (X1) ปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน (X2) และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงาน (X3) ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุคูณ (R2) เท่ากับ 0.69 สามารถพยากรณ์และอธิบายความผูกพันองค์กรของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีได้ร้อยละ 83.00

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร. กรุงเทพฯ: โพกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชนิน ทองประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียนและความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนศรศรีอยุธยา.

ณิชาพร ฤทธิบูรณ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), หน้า 151 - 166.

นภัสสร พรหมเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกระบี่. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิกร แตงรอด. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของ ข้าราชการ สังกัดหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บริษัท ฟิวชั่น โซลูชั่น จำกัด. (2567). หลักการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2567,จาก https://www.optimistic-app.com/hrd/

ประภัทสรณ์ ชำนาญเวช. (2564). ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี. (ไทยแลนด์) จำกัด (สำนักงานใหญ่).ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ปรารถนา หลีกภัย. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดตรัง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), หน้า 132 - 146.

ปุณย์จรีย์ แสงอากาศ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเหล็กแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รื่นฤดี ภวัคธานนท์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านแอพพลิเคชัน foodpanda ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัญปภัค บุญเที่ยง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันขององค์กร กรณีศึกษา: บุคลากรสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

วิลาวัลย์ ม่วงพลับ. (2567). คุณภาพชีวิตการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสายปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2566). โครงสร้างการบริหารงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. รายงานประจำปี 2567, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.

อารยา นาคัน. (2563). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2024

How to Cite

บุตรดาวงค์ พ. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย, 1(3), 58–76. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2429