ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด

ผู้แต่ง

  • ผ่องพรรณ์ คำน้อย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง, การกลับไปเสพซ้ำ, การบำบัดยาเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางใน
การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดตามปกติ เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในปีงบประมาณ 2566 ส่วนกลุ่มทดลองเป็นผู้เข้ารับ
การบำบัดยาเสพติดรายใหม่ที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง
เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า ตลอดระยะเวลาในการติดตาม 3 เดือน กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.002) และในการติดตามครั้งที่ 3 (2 เดือน) และครั้งที่ 4 (3 เดือน) กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p – value < 0.05) แสดงให้เห็นว่าการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางช่วยลด
การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้

จากการวิจัยสาเหตุของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางกลับมาเสพติดซ้ำลดลงเนื่องมาจากได้รับความช่วยเหลือจากทีมสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน นำมาซึ่งความร่วมมือในการวางแผนในการดูแล กำกับและติดตามยาเสพติดในชุมชน ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดสามารถบำบัดและติดตามครบตามเกณฑ์ได้ เป็นผลให้ผู้เข้ารับการบำบัดหยุดใช้ยาเสพติด

References

กฤศ กุลบุตรดี, สยาม ประสานพิมพ์, วิยะดา ประสานพิมพ์, พงศ์พิพัฒน์ เหิมฉลาด, พรปวี เปียวัน, เพียงฤทัย วงศ์ธรรม, ภาวิณี สัญจรโคกสูง, และ ร่มโพธิ์ พวงศรี. (2566). ผลของโปรแกรมการบําบัดโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยใช้ยาและสารเสพติดที่ไม่มีโรคจิตร่วม ในเขตอำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี, 11(2), 17–29.

กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร, เนาวรัตน์ เกษมพร, ภาสินี โทอินทร์ และ นวลละออง ทองโคตร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษายาเสพติดซ้ำของผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(2), 1–12.

จุลนิตย์ จันทร์ชมภู. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ 3 เดือนแรกหลังการบำบัดรักษาในผู้ป่วยคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร, 26(2), 55–68.

เทอดศักดิ์ เนียมเปีย, และ วุฒิชัย จริยา. (2563). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังต้านการเสพยาบ้าต่อความตั้งใจเลิกเสพยาบ้าของผู้ต้องขัง เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 700–708.

ปนัดดา ธีระเชื้อ. (2567). ผลของโปรแกรมการบําบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เสพแอมเฟตามีน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 11(1), 126–141.

ราศรี อาษาจิตร, และ สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(2), 244–257.

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติด ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาล, 68(1), 49–57.

Kabisa, E., Biracyaza, E., Habagusenga, J., & Umubyeyi, A. (2021). Determinants and prevalence of relapse among patients with substance use disorders: Case of Icyizere Psychotherapeutic Centre. biomedcentral, 13(2), 1–12.

Manish, G., Deepali, T., & Neetu, S. (2022). Effect of the drug abuse on the academic performance of the students/adolescents. Biomed J Sci & Tech Res, 28(3), 21601–21611.

Nawi, A., Ismail, R., Ibrahim, F., Hassan, M., Abdul Manaf, M., Amit, N., Ibrahim, N., & Shafurdin, N. (2021). Risk and protective factors of drug abuse among adolescents: A systematic review. BMC Public Health, 21(1), 1–15.

United Nations Office on Drugs And Crime. (2023). World Drug Report 2023. Austria.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2025

How to Cite

คำน้อย ผ. . (2025). ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด. วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย, 2(1), E–2719. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JHIS/article/view/2719