ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด
คำสำคัญ:
การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง, การกลับไปเสพซ้ำ, การบำบัดยาเสพติดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางใน
การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดตามปกติ เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในปีงบประมาณ 2566 ส่วนกลุ่มทดลองเป็นผู้เข้ารับ
การบำบัดยาเสพติดรายใหม่ที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง
เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ตลอดระยะเวลาในการติดตาม 3 เดือน กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value = 0.002) และในการติดตามครั้งที่ 3 (2 เดือน) และครั้งที่ 4 (3 เดือน) กลุ่มทดลองมีการกลับไปเสพซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p – value < 0.05) แสดงให้เห็นว่าการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางช่วยลด
การกลับไปเสพซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดได้
จากการวิจัยสาเหตุของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางกลับมาเสพติดซ้ำลดลงเนื่องมาจากได้รับความช่วยเหลือจากทีมสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน นำมาซึ่งความร่วมมือในการวางแผนในการดูแล กำกับและติดตามยาเสพติดในชุมชน ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดสามารถบำบัดและติดตามครบตามเกณฑ์ได้ เป็นผลให้ผู้เข้ารับการบำบัดหยุดใช้ยาเสพติด
References
กฤศ กุลบุตรดี, สยาม ประสานพิมพ์, วิยะดา ประสานพิมพ์, พงศ์พิพัฒน์ เหิมฉลาด, พรปวี เปียวัน, เพียงฤทัย วงศ์ธรรม, ภาวิณี สัญจรโคกสูง, และ ร่มโพธิ์ พวงศรี. (2566). ผลของโปรแกรมการบําบัดโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยใช้ยาและสารเสพติดที่ไม่มีโรคจิตร่วม ในเขตอำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี, 11(2), 17–29.
กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร, เนาวรัตน์ เกษมพร, ภาสินี โทอินทร์ และ นวลละออง ทองโคตร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษายาเสพติดซ้ำของผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(2), 1–12.
จุลนิตย์ จันทร์ชมภู. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมกายจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบสั้นร่วมกับการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ 3 เดือนแรกหลังการบำบัดรักษาในผู้ป่วยคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร, 26(2), 55–68.
เทอดศักดิ์ เนียมเปีย, และ วุฒิชัย จริยา. (2563). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังต้านการเสพยาบ้าต่อความตั้งใจเลิกเสพยาบ้าของผู้ต้องขัง เรือนจำจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 700–708.
ปนัดดา ธีระเชื้อ. (2567). ผลของโปรแกรมการบําบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เสพแอมเฟตามีน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 11(1), 126–141.
ราศรี อาษาจิตร, และ สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(2), 244–257.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติด ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาล, 68(1), 49–57.
Kabisa, E., Biracyaza, E., Habagusenga, J., & Umubyeyi, A. (2021). Determinants and prevalence of relapse among patients with substance use disorders: Case of Icyizere Psychotherapeutic Centre. biomedcentral, 13(2), 1–12.
Manish, G., Deepali, T., & Neetu, S. (2022). Effect of the drug abuse on the academic performance of the students/adolescents. Biomed J Sci & Tech Res, 28(3), 21601–21611.
Nawi, A., Ismail, R., Ibrahim, F., Hassan, M., Abdul Manaf, M., Amit, N., Ibrahim, N., & Shafurdin, N. (2021). Risk and protective factors of drug abuse among adolescents: A systematic review. BMC Public Health, 21(1), 1–15.
United Nations Office on Drugs And Crime. (2023). World Drug Report 2023. Austria.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารนวัตกรรมสุขภาพและความปลอดภัย