การปรับตัวหลังคลอดบุตร 1 ปี ของมารดาวัยรุ่น: เปรียบเทียบระหว่างอาชีพ นักเรียน นักศึกษากับอาชีพอื่น

Main Article Content

สิรยา กิติโยดม กิติโยดม
ยุทธภูมิ พินิจมนตรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการปรับตัวหลังคลอดบุตร 1 ปี ในการกลับไปศึกษาต่อ การเลี้ยงดูบุตร การให้นมบุตร และการคุมกำเนิด ระหว่างมารดาวัยรุ่นอาชีพนักเรียนนักศึกษา กับอาชีพอื่น ผู้ป่วยและวิธีการ: การวิจัยแบบ ภาคตัดขวาง ศึกษากลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุระหว่าง 11-20 ปี ที่มาคลอด และรับบริการที่คลินิกสตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่นหลังคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555-31 ธันวาคม 2557 โดยรวบรวม ข้อมูลจากการสอบถามผู้ป่วยทางโทรศัพท์หลังคลอด 1 ปี แฟ้มประวัติผู้ป่วย และบันทึกข้อมูลคลินิกสตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่นคลอด เปรียบเทียบการกลับไปศึกษาต่อ การเลี้ยงดูบุตร การให้นมบุตร และการคุมกำเนิด โดยใช้ Chi-Square test โดยถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p value < 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มนักเรียน นักศึกษา 129 คน กลุ่มอาชีพอื่น 137 คน พบว่าหลังคลอดบุตร 1 ปี กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลับไปศึกษาต่อ 69 คน (ร้อยละ 53.5) กลุ่มอาชีพอื่น ศึกษาต่อ 21 คน (ร้อยละ 15.4) ระยะเวลาการให้นมบุตรในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ให้นมบุตร > 6 เดือน 3 คน (ร้อยละ 2.3) อาชีพอื่น 20 คน (ร้อยละ 14.6) แตกต่างกันชัดเจน (RR 0.14; 95% CI = 0.03-0.58) การเลี้ยงดูบุตร กลุ่มนักเรียน นักศึกษา เลี้ยงบุตรเอง 89 คน (ร้อยละ 69) กลุ่มอาชีพอื่น 106 คน (ร้อยละ 77.4) ส่วนการคุมกำเนิด 1 ปีหลังคลอด ไม่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากที่สุด รองลงมาคือ ยาฉีดคุมกำเนิด สรุป: กลุ่มอาชีพนักเรียน นักศึกษามีความประสงค์กลับไปศึกษาต่อสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ส่วนระยะเวลาในการ ให้นมบุตร และการเลี้ยงดูบุตรเอง พบว่ากลุ่มอาชีพอื่น มากกว่ากลุ่มนักเรียน นักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างกันในเรื่องของการคุมกำเนิดหลังคลอดบุตร 1 ปี

Article Details

How to Cite
1.
กิติโยดม สก, พินิจมนตรี ย. การปรับตัวหลังคลอดบุตร 1 ปี ของมารดาวัยรุ่น: เปรียบเทียบระหว่างอาชีพ นักเรียน นักศึกษากับอาชีพอื่น. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 15 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 21 พฤษภาคม 2025];40(3):177-86. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1509
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Pechkwang D, Kaewjiboon J, Boontha R, Junsuk K. Impacts of pregnancy and factors affecting pregnancy among teens who received prenatal care at Phayo hospital. Boromarajonani College of Nursing, Phayao; 2011.

World Health Organization. Definitions, in Adolescent Pregnancy. Department of Reproductive Health and Research World Health Organization Geneva. 2004: 5.

Department of Health, Ministry of Public Health of Thailand. Saiyairak hospital project; 2011. Available from: http://www.saiyairakhospital.com/newdemo/admin/user_report.html.

Kitiyodom S. Maternal youth and pregnancy outcomes: Early and middle adolescent versus late adolescent compared with women beyond the teen years. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital Med Bull 2013; 37: 62-74.

Bureau of Reproductive Health. Fact Sheet on Statistics on Adolescent Births, Thailand. Bangkok: Department of Health; 2016.

Kitiyodom S. Decisions of pregnant adolescents towards antenatal care attendance and their immediate postpartum adaptation: Comparison between students and other occupations. J Med Assoc Thai 2015; 98: S43-50.

Desirae MD, Karen HJ. Adolescent pregnancy in America: Causes and responses. VJSNE 2007; 30: 4-12.

Songsathaporn L, Kitiyodom S. Postpartum long-acting reversible contraception use in adolescent at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2016; 24: 26-34.

American Academy of Pediatrics: Care of adolescent parents and their children. Pediatr 2001; 107: 429- 34.

Pungbangkadee R, Ratinthorn A. Factors and consequences of repeat pregnancy among teenagers: A case study in Bangkok Metropolis. J Nurs Sci 2014; 32: 23-31.

Secura GM, Madden T, McNicholas C. Provision of no-cost, long-acting contraception and teenage pregnancy. N Engl J Med 2014; 371: 1316-23.

Winner B, Peipert JF, Zhao Q. Effectiveness of longacting reversible contraception. N Engl J Med 2012; 366: 1998-2007.

Birgisson NE, Zhao Q, Secura GM, Madden T, Peipert JF. Preventing unintended pregnancy: the Contraceptive CHOICE Project in review. J Womens Health (Larchmt) 2015; 24: 349-53.

Kramer MS, Kakuma R. (2012). Optimal duration of exclusive breastfeeding: Cochrane Database of Systematic Reviews. John Wiley & Sons, Ltd. DOI: 10.1002/14651858.CD003517

Jintrawet U, Tongsawas T, Somboon L. Factors associated with the duration of exclusive breastfeeding among postpartum mothers. Nursing J 2014; 41: 133-44.

Nesbitt SA, Campbell KA, Jack SM, Robinson H, Piehl K Bogdan JC. Canadian adolescent mothers’ perceptions of influences on breastfeeding decisions: a qualitative descriptive study. BMC Pregnancy Childbirth 2012; 12: 149. Doi.org/10.1186/1471- 2393-12-149

Jeungklinchan P, Junprasert T. Adapting process and child rearing in a teen single mother: a case study of Sahathai Foundation’s Clients. Golden Teak Humanity Social Sci J (GTHJ) 2014; 20: 73-90.