การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้าช่องทางด่วน โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

Main Article Content

ศาสวัต สุขพงษ์ไทย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นปัญหาที่สำคัญของคนไทยและทั่วโลก ช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความพิการและการเสียชีวิตลงได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เทียบกับเกณฑ์ระยะเวลาที่กำหนด วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยศึกษาย้อนหลังข้อมูลจากเวชระเบียนคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยที่เข้าได้กับโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ที่เข้าช่องทางด่วน ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2559 ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 150 ราย มีจำนวนเพศชายเท่ากับเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61 ปี ผู้ป่วยที่ได้พบแพทย์ภายใน 10 นาที มีร้อยละ 97.3, ผู้ป่วยที่ได้ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายใน 25 นาที ร้อยละ 93.3, ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 60 นาที ร้อยละ 53.3, ผู้ป่วยที่ได้นอนโรงพยาบาลภายใน 180 นาที ร้อยละ 98.5 และระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในแต่ละช่วงคือ 2, 11, 59 และ 85 นาที ตามลำดับ สรุป: จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 60 นาที มีเพียงร้อยละ 53.3 ซึ่งมีค่าต่ำสุด เมื่อเทียบกับจำนวนของผู้ป่วยช่วงอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
สุขพงษ์ไทย ศ. . (2024). การดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้าช่องทางด่วน โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 39(1), 31–38. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1547
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Global status report on non-communicable diseases 2010. Geneva, World Health Organization, 2011.

Global atlas on cardiovascular disease prevention and control. Geneva, World Health Organization, 2011.

WHO. Cardiovascular Diseases Fact Sheet No. 317. Updated March 2013. http/www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs317/en/

WHO. Preventing chronic diseases: a vital investment: Geneva. World Health Organization, 2005.

Truelsen T, Heuschmann PU, Bonita R, Arjundas G, Dalal P, Damasceno A, et al. Standard method for developing stroke registers in low-income and middle income countries: experiences from a feasibility study of a stepwise approach to stroke surveillance (STEPS Stroke). Lancet Neurol 2007; 6: 134-9.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวน และอัตราตายต่อประชากร

,000 คน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ และเพศ พ.ศ. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 16 ต.ค. 2556] : URL: http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/index.htm

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ 2554 (Statistic Thailand2011) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2556]: 1-1. เข้าถึงได้จาก :URL:http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/Statistical%20Thailand%202011/statistic%20 thailand.html

ศาสวัต สุขพงษ์ไทย, วีรวัฒน์ คชินทักษ, สุนทร ชินประสาทศักดิ์. การสำรวจลักษณะและข้อคิดเห็น

ของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินต่อการไม่เลือกใช้ระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดนครราชสีมา. กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.2556.

Lees KR, Bluhmki E, von Kummer R, Brott TG, Toni D, Grotta JC, et al. Time to treatment with intravenous alteplase and outcome in stroke: an updated pooled analysis of ECASS, ATLANTIS, NINDS, and EPITHET trials. Lancet 2010; 375: 1695-703.

Guidelines for the Early Management of Patients with Acute Ischemic Stroke. A Guideline for Healthcare Pro-fessionals from the American Heart Association American Stroke Association.

กนกวรรณ วัชระศักดิ์ศิลป์ . การพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร (Stroke

Network) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย 2558; 14-1: 23-34.

ไพรวัลย์ พรมที. การพัฒนาระบบช่องทางด่วน การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้รูปแบบการจัดการรายกรณี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23-2.