ความผันผวนของค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมียแฝง: รายงานผู้ป่วย 1 ราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณสมบัติที่พบบ่อยประการหนึ่งของผู้ที่เป็นธาลัสซีเมียแฝง คือ การที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก หรือการที่ค่าเฉลี่ยปริมาตรเม็ดเลือดแดง (MCV) น้อยกว่า 80 fL อย่างไรก็ตามเมื่อมีการตรวจเลือด CBC ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง กลับพบว่าค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงรวมทั้งค่า MCV มีความผันผวนดังในรายงานนี้ซึ่งเป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 45 ปี ตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีภาวะโลหิตจางแบบ microcytic เล็กน้อยร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำชัดเจนเมื่อตรวจ hemoglobin electrophoresis ก็พบว่า มี Hb A2 สูง (4.9%) และ มี Hb F สูงเช่นกัน (8.0%) และเมื่อตรวจยีนส์ ก็พบว่าผู้ป่วยเป็นเบต้าธาลัสซีเมียแฝงชนิด IVS1#5 ไม่มียีนส์แอลฟ่าธาลัสซีเมีย-1 หรือ แอลฟ่าธาลัสซีเมีย-2 เลยผู้ป่วยไม่เคยมีโรคใด ๆ มาก่อน ตรวจร่างกายก็ไม่พบสิ่งผิดปกติเช่นกันเมื่อทำการตรวจ CBC เพื่อติดตามภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 18 ครั้ง ก็พบว่าค่าต่าง ๆ ของเลือดมีความผันผวนตลอดเวลา ได้แก่ค่าความเข้มข้นเลือด (Hb) ต่ำกว่า 12 g% ถึง 10 ครั้ง (55.6%), ค่า MCV น้อยกว่า 80 fL พบ 8 ครั้ง (44.4%), ค่า MCH น้อยกว่า 27 pg พบ 15 ครั้ง (83.3%) และค่า RDW มากกว่าร้อยละ 15 ทุกครั้งในทางเวชปฏิบัติการใช้ค่า MCV น้อยกว่า 80 fL หรือ ค่า MCH น้อยกว่า 27 pg จากการตรวจเลือดเพียงครั้งเดียว เพื่อการคัดกรองเบต้าธาลัสซีเมียแฝงนั้น ค่า MCV จะมีโอกาสปล่อยผู้ป่ วยให้หลุดรอดได้มากกว่าค่า MCH หรือ ในแนวทางการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางที่อาศัยค่า MCV นั้น ค่า MCV ในเบต้าธาลัสซีเมียแฝง อาจทำให้การจำแนกหมวดหมู่สลับกลุ่มกันได้ระหว่างกลุ่ม microcytic กับ normocytic
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Schrier SL. Approach to the adult patient with anemia. In: UpToDate, Basow DS (Ed), UpTo Date, Waltham MA, 2008.
Mazza U, Saglio G, Caligaris Cappio F, Camaschella G, Neretto G, Gallo E. Clinical and haematological data in 254 cases of beta-thalassaemia trait in Italy. Br J Haematol 1976; 33: 91-9.
Bhukhanvala D, Seliya V, Shah A, Gupte S. Study of parents of β-thalassemia major children to determine cutoff values of hematological parameters for diagnosis of β-thalassemia trait and assessment of anemia in them. Indian J Med Sci 2013; 67: 117-22.
Harrington AM, Ward PCJ, Kroft SH. Iron deficiency anemia, beta-thalassemia minor, and anemia of chronic disease. Am J Clin Pathol 2008; 129: 466-71.
Mach-Pascual S, Darbellay R, Pilotto PA, Beris P. Investigation of microcytosis: a comprehensive approach. Eur J Haematol 1996; 57: 54-61.
Karimi M, Rasekhi AR. Efficiency of premarital screening of beta-thalassemia trait using MCH rather than MCV in the population of Fars Province, Iran. Haematologia (Budap) 2002; 32: 129-33.
Flynn MM, Reppun TS, Bhagavan NV. Limitations of red blood cell distribution width (RDW) in evaluation of microcytosis. Am J ClinPathol 1986; 85: 445-9.