ต่อมนํ้าเหลืองโตทั่วตัวและเม็ดเลือดต่ำโดยรวมในภาวะไธรอยด์ต่ำปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่การที่จะพบภาวะเม็ดเลือดต่ำทั้งสามอย่างร่วมกัน (pancytopenia) และมีต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไปนั้น นับว่าหาได้ยากมากจึงได้เขียนรายงานผู้ป่วยรายนี้ขึ้นผู้ป่วยเป็นหญิงไทย อายุได้ 51 ปี มาพบแพทย์ด้วยการมีจ้ำเลือดทั่ว ๆ ไป ร่วมกับอาการน้ำหนักลด และต่อมน้ำเหลืองโตทั่ว ๆ ไป โดยไม่มีไข้ ภายในระยะเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ ตรวจร่างกายก็พบว่าต่อมไธรอยด์โตสม่ำเสมอทั่ว ๆ และมีต่อมน้ำเหลืองโตขนาด 1.5-2 เซนติเมตร ทั่วร่างกายจากการตรวจเลือดก็พบว่าเซลล์เม็ดเลือดต่ำทั้งสามชนิด จนเหลือ Hb 8.1 g%, WBC 1,700/mm3, platelet 4,000/mm3, absolute neutrophil count 510/mm3, TSH >100 uIU/mL, FT3 1.15 pg/dL, FT4 0.2 ng/dL, ทดสอบหา antithyroglobulin และ anti-thyroperoxidase antibodies ต่างให้ผลบวก ตรวจชิ้นเนื้อไขกระดูกพบว่าปกติทั้งสามอนุกรม แต่ไม่มีเหล็กสะสมเลยส่วนผลชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองพบเพียง reactive hyperplasia เท่านั้น ในที่สุดจึงให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไธรอยด์ต่ำปฐมภูมิ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง และหลังจากรักษาด้วย L-thyroxine 100 mcg ต่อวัน โดยไม่ต้องใช้ corticosteroid เลยภายใน 2-3 เดือน ต่อมน้ำเหลือง ทั้งหลายเริ่มเล็กลง และภาวะเม็ดเลือดต่ำทั้งสามอย่างร่วมกัน ก็กลับเป็นปกติได้แม้ว่าความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างภาวะต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป กับภาวะฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำปฐมภูมิ จะยังไม่สามารถชี้ชัดได้ก็ตามแต่ทั้งสองภาวะอาจจะมีพยาธิกำเนิดแบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองร่วมกันก็ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Paksoy N, Yazal K. Cervical lymphadenopathy associated with Hashimoto’s thyroiditis: an analysis of 22 cases by fine needle aspiration cytology. Acta Cytol 2009; 53: 491-6.
Sahlmann CO, Meller J, Siggelkow MJ, Homayounfar K, Ozerden MB, et al. Patients with autoimmune thyroiditis. Prevalence of benign lymphadenopathy. Nuklearmedizin 2012; 51: 223-7.
Das C, Sahana PK, Sengupta N, Giri D, Roy M, Mukhopadhyay P. Etiology of anemia in primary hypothyroid subjects in a tertiary care center in Eastern India. Indian J Endocrinol Metab 2012; 16 (suppl 2): S361-3.
Erdogan M, Kösenli A, Ganidagli S, Kulaksizoglu M. Characteristics of anemia in subclinical and overt hypo-thyroid patients. Endocr J 2012; 59: 213-20.
Tsoukas MA. Pancytopenia in severe hypothyroidism. Am J Med 2014; 127: e11-e12.
Kakudo K, Li Y, Hirokawa M, Ozaki T. Diagnosis of Hashimoto’s thyroiditis and Ig G4-related sclerosing disease. Pathol Int 2011; 61: 175-83.
Green ST, Ng JP. Hypothyroidism and anemia. Biomed Pharmacother 1986; 40: 326-31.
Shaaban H, Modi T, Modi Y, Sidhom IW. Hematologic recovery of pancytopenia after treatment of Hashimoto thyroiditis and primary adrenal insufficiency. N Am J Med Sci 2013; 5: 253-4.
Colon-Otero G, Menke D, Hook CC. A practical approach to the differential diagnosis and evaluation of the adult patient with macrocytic anemia. Med Clin North Am 1992; 76: 581-97.
Garrel R, Tripodi C, Cartier C, Makeieff M, Crampette L, Guerrier B. Cervical lymphadenopathies signaling thyroid microcarcinoma. Case study and review of the literature. Eur Ann Otorhinolaryngol Head Neck Di 2011; 128: 115-9.
Tran H, Nourse J, Hall S, Green M, Griffiths L, Gandhi MK. Immunodeficiency-associatedlymphoma. Blood Rev 2008; 22: 261-81.
Cuttner J, Spiera H, Troy K, Wallenstein S. Autoimmune disease is a risk factor for the development of non-Hodg-kin’s lymphoma. J Rheumatol 2005; 32: 1884-7.
Stein SA, Wartofsky L. Primary thyroid lymphoma: a clinical review. J Clin Endocrinol Metab 2013; 98: 3131-8.