ผลของโปรแกรมการทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสานต่อการทำหน้าที่ทางการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุโรงพยาบาลศรีธัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสานต่อการทำหน้าที่ทางการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุโรงพยาบาลศรีธัญญา วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ จำนวน 8 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน 2559 จำนวน 10 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสาน แบบบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วยขณะทำกิจกรรม แบบทดสอบย่อย Word Recall Task และแบบทดสอบย่อย Word Recognition Task ของแบบทดสอบ ADAS-Cog วิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบย่อย ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสาน ด้วยสถิติ Wilcoxon’s Test ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีการทำหน้าที่ทางการรู้คิดในด้านความจำภายหลังจากใช้โปรแกรมการทำจิตบำบัดแบบผสมผสานดีกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความกังวลใจ ไม่สบายใจลดลง และมีความภูมิใจในตนเองเพิ่มขึ้น ภายหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรม การทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสาน สรุป: ผลของโปรแกรมการทำกลุ่มจิตบำบัดแบบผสมผสาน สามารถนำไปใช้เพิ่มการทำหน้าที่ทางการรู้คิดในด้านความจำ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังการใช้ โปรแกรมที่สามารถลดความกังวลใจ ไม่สบายใจ และเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประภาส อุครานันท์, อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ศิระ กิตติวัฒนโชติ, สุวดี ศรีวิเศษ,ไพรวัลย์ ร่มซ้าย และจิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ. การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ.ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวง
สาธารณสุข; 2556.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิตเผย อีก 7 ปี ข้างหน้าผู้ป่วยสมองเสื่อมมีสูงถึง 4.5 แสน แนะวางระบบดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (ออนไลน์) 2556 (1 กันยายน 2558) เข้าถึงได้ จาก: http://www.hsri.or.th/people/media/waiting-categorize/detail/4662.
วรากรณ์ จัตกุล. ผลของการฝึกความจำแบบการสร้างจินตภาพในผู้สูงวัย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2547.
Treatment Advocacy Center. Cognitive Impairment: A Major Problem for Individuals with Schizophrenia and Bipolar Disorder. (Online) 2015 (2015, November 29). Available: http://www.treatmentadvocacycenter.org.
Delis, D.C., Lucas, J.A. and Kopelman, M.D. Memory. In: Fogel, B.S., Schiffer, R.B., And Rao, S.M. editors. Synopsis of Neuropsychiatry. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2000.
จันทิมา องค์โฆษิต. จิตบำบัดในการปฏิบัติงานจิตเวช ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ยูเนียนครีเอชั่น; 2545.
ศิริวรรณ สังข์ สุวรรณ. เทคนิครีโมติเวชั่น. นนทบุรี: ฝ่ายจิตวิทยา โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2539.
สุเกยูร ชัยยุทธ. การฟื้นฟูสมรรถภาพสมองในผู้ป่วย จิตเภท เรื้อรัง. เอกสารอัดสำเนา. นนทบุรี: โรงพยาบาล ศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
เยาวลักษณ์ โอรสานนท ์ และจุฬารัตน์วิเรขะรัตน์. โปรแกรมฝึกความจำสำหรับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง. เอกสารอัดสำเนา. นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญากรม สุขภาพจิต กระทรวง สาธารณสุข; 2554.
สุดารัตน์ ปุณโณฑก. ผลของโปรแกรมการระลึก ถึงความหลัง ร่วมกับการบำบัดเพื่อการรับรู้ วัน เวลา สถานที่ และบุคคลต่อความสามารถในการรู้คิด และ ความผาสุกในชีวิตของ ผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อม (วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
มยุรี กลับวงษ์ .การฝึกความจำในผู้สูงอายุ ที่มีความจำบกพร่อง (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
ไพศรี ขำคม. การทำจิตบำบัดประคับประคองแบบ จิตพลวัตสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่รับไว้รักษาใน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (การศึกษาอิสระปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).คณะพยาบาลศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
จินตนา รักคำ. การศึกษาการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคองต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทองจังหวัดอ่างทอง (การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2549.
อัจชาวรรณ แก่นอินทร์. การศึกษาการใช้ กลุ่มบำบัดประคับประคองต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (การศึกษาอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.