ความชุกของโคโมกรานินเอในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร โรคไอบีเอส และท้องเสียงเรื้อรังในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยมะเร็งเน็ตมาด้วยอาการที่หลากหลายได้แก่ ถ่ายเหลวบางครั้ง ปวดท้องออกร้อนท้องเป็นพัก ๆ ซึ่งอาจวินิจฉัยผิดเป็นลำไส้อักเสบ ภาวะการขาดฮอร์โมนเพศ โรคกระเพาะอาหารหรือโรคลำไส้แปรปรวนได้ วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกของโคโมกรานินเอในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง โรคไอบีเอส และท้องเสียเรื้อรังในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ: กลุ่มศึกษาได้แก่ ผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปีทุกรายที่มาด้วยปัญหาปวดท้องเรื้อรัง โรคไอบีเอสหรือท้องเสียเรื้อรังในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาระหว่างกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ.2553 ที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา กลุ่มที่ถูกคัดออกได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง ได้รับยาลดกรดที่ยับยั้งปั้มภายใน 1 สัปดาห์และโรคหัวใจวายเรื้อรัง ทำการตรวจเลือดหาระดับสารโคโมกรานินเอด้วยวิธีเรดิโออิมมูโนที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 75 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72) อาศัยในจังหวัดนครราชสีมา (ร้อยละ 94.7) ไม่มีโรคร่วม (ร้อยละ 78.7) อายุเฉลี่ย 49.5±12.1 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.7) มาด้วยปัญหาโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง โดยมีอาการประมาณ 1 ปี ค่าเฉลี่ยระดับโคโมกรานินเอ246±10.9 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ยกเว้น 3 รายที่ระดับสูงมากกว่า 870 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) โดย 39 ราย (ร้อยละ 52) มีโคโมกรานินเอสูงผิดปกติ ในกลุ่มที่โคโมกรานินเอสูงผิดปกติ ได้ตรวจซ้ำ 11 รายแต่ยังคงมีโคโมกรานินเอสูงผิดปกติเพียง 3 ราย (ร้อยละ 27.3) [>870, 222.3 และ 109.9 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร] 19 รายได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนและ 8 รายได้รับการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ซึ่งไม่พบความผิดปกติที่สำคัญ ส่วนใหญ่ได้รับการติดตามอาการและไม่พบมีสิ่งผิดปกติที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีโรคมะเร็งเน็ต ซึ่งรวมถึง 3 รายที่มีระดับโคโมกรานินเอสูงผิดปกติทั้ง 2 ครั้งด้วย สรุป: ความชุกของโคโมกรานินเอในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร โรคไอบีเอส และท้องเสียเรื้อรังในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาพบได้สูง แต่ไม่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเน็ตระยะแรก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Taupenot L, Harper KL, OConnor DT. The chromogranin-secretogranin family. N Engl J Med 2003; 348: 1134-49.
Ardill JE. Circulating markers for endocrine tumours of the gastroenteropancreatic tract. Ann Clin Biochem 2008; 45: 539-59.
Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Chromogranin_A
Campana D, Nori F, Piscitelli L, Morselli-Labate AM,
Pezzilli R, Corinaldesi R, et al. Chromogranin A: Is it a
useful marker of neuroendocrine tumors? J Clin Oncol
; 25: 1967-73.
Sishu R, McAlindon ME, Leeds JS, Skilling J, Sanders DS. The role of serum chromogranin A in diarrhea predominant irritable bowel syndrome. J Gastrointestin Liver Dis 2009; 18: 23-6.
Nobels FR, Kwekkeboom DJ, Coopmans W, Schoenmakers CH, Lindemans J, De Herder WW, et al. Chromogranin A as serum marker for neuroendocrine neoplasia: comparison with neuron-specific enolase and the alphasubunit of glycoprotein hormones. J Clin Endocrinol Metab 1997; 82: 2622-8.
Pregun I, Herszenyi L, Juhasz M, Miheller P, Hritz I, Patocs A, et al. Effect of proton-pump inhibitor therapy on serum chromogranin a level. Digestion 2011; 84: 22-8.