ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กอายุแรกเกิดถึง 1 ปี 6 เดือน ของผู้เลี้ยงดูที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพหรือเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูค่อนข้างน้อย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่และผู้เลี่ยงเลี้ยงดูในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จะทำให้ได้ข้อมูลและแนวทางที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพเด็ก ผู้ป่วยและวิธีการ: ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจในกลุ่มผู้เลี้ยงดูที่นำเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 ปี 6 เดือน ที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2552 ด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายปิดและเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การเลือกกลุ่ม ตัวอย่างอาศัยวิธีสุ่ม อย่างง่าย เนื้อหาแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติและความเชื่อในการเลี้ยงดูเด็ก พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการศึกษา: เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง 297 ราย ใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน พบว่าส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงดูเป็นมารดาร้อยละ 78.5 อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 25-35 ปี ร้อยละ 45.8 เด็กที่ดูแลมีอายุระหว่าง 1-6 เดือนร้อยละ 73.7 ที่อยู่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 72.7 สถานภาพสมรสร้อยละ 95.3 การศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญา ร้อยละ 66.3 ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 38.7 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 60.7 และส่วนใหญ่เด็กมีพี่น้องเพียง 1 คน ร้อยละ 52.2 ภาพรวมด้านทัศนคติการเลี้ยงดูเด็กอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.2±1.1 ภาพรวมของความเชื่อในการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องอยู่ในระดับน้อย 2.5±0.8 ภาพรวมของการได้รับความรู้คำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็กอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.0±0.6 ภาพรวมพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.2±0.7 ความสัมพันธ์ของผู้เลี้ยงดูกับเด็ก อายุของผู้เลี้ยงดู การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนของครอบครัว และจำนวนพี่น้องของเด็กต่างกัน จะมีทัศนคติ ความเชื่อและการได้รับความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กแตกต่างกันคุณลักษณะของผู้เลี้ยงดูที่ต่างกันมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และไมมี่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กในภาพรวม (r 0.048, p.405) สรุป: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่มีผลต่อภาพรวมของพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก อายุแรกเกิดถึง1 ปี 6 เดือน ของผู้เลี้ยงดูที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทิรา สิทธิโชค, นวลศรี วิจารณ์. บทบาทของบิดา มารดาในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2542. หน้า 50-60.
วิมล ธนสุวรรณ. นโยบายและแนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพ และกลยุทธ์ในการสร้างเสริมสุขภาพเด็ก. ใน: นิตยา ไทยาภิรมย์, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพเด็ก เล่มที่ 1 เชียงใหม่: บริษัทนพบุรีการพิมพ์ จำกัด; 2551. หน้า 1-9.
จรัสศรี สุวรรณวงศ์, จงกล กาญจนบุษย์, กนกพร นาคปาน. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิด-1 ปี ของมารดาที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย; 2549.
ชูศรี ติ้วสกุล, พรศรี ศรีอัษฎาพร. พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรกของมารดาที่พาบุตรมารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 6; 24-26 มิถุนายน 2541; ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2541.