ประโยชน์ของแผนเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์
ศุภมาส ลิ่วศิริรัตน์
ประกฤต สุวรรณปราโมทย์

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: Compartment syndrome เป็นภาวะฉุกเฉินทางออร์โธปิดิกส์ การวินิจฉัย และการรักษาที่ทันท่วงทีมีผลลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจึงจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังเป็นอย่างดี แผนเฝ้าระวังภาวะ compartment syndrome จึงได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประโยชน์ของแผนเฝ้าระวังภาวะ compartment syndrome ผู้ป่วยและวิธีการ: ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนขาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2545 ถึง มิถุนายน 2548 ได้รับการเฝ้าระวังจำนวน 667 ราย มีผู้ป่วย 23 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น compartment syndrome  ผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับการบันทึกข้อมูลทั่วไป สาเหตุของการบาดเจ็บ การบาดเจ็บร่วม ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนได้รับการวินิจฉัย ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยจนได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด fasciotomy ตลอดจนผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อน โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับผู้ป่วย 27 รายที่ได้รับการรักษาก่อนมีแผนเฝ้าระวัง ระหว่างเดือนกันยายน 2540 ถึง กุมภาพันธ์ 2545  ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มที่เข้าแผนเฝ้าระวัง 19 ใน 23 ราย มีผลการรักษาที่ดี ในแง่ของภาวะแทรกซ้อนมีภาวะ muscle necrosis with deep infection 4 ราย  ภาวะ Volkmann ischemic contracture 2 ราย ระยะเวลามัธยฐานตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจนได้รับการวินิจฉัย 90 นาที (พิสัย 1-1080)  และระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยจน fasciotomy 230 นาที (พิสัย 60-1130)  เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มก่อนมีแผนเฝ้าระวัง 17 ใน 27 รายมีผลการรักษาที่ดี  มีภาวะ muscle necrosis with deep infection 10 ราย จำเป็นต้อง amputation 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย จากภาวะ rhabdomyolysis มีภาวะ Volkmann ischemic contracture 2 ราย  ระยะเวลามัธยฐานตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจนได้รับการวินิจฉัย 525 นาที (พิสัย 1-1500) และระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยจน fasciotomy 245 นาที (พิสัย 80-545)  สรุป: แผนเฝ้าระวังภาวะ compartment syndrome ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ช่วยการวินิจฉัยให้เร็วขึ้น และมีแนวโน้มค่อนข้างสูงในการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลงได้ แต่ยังไม่สามารถช่วยลดระยะเวลาตั้งแต่วินิจฉัยจนได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด fasciotomy

Article Details

How to Cite
เลอมานุวรรัตน์ ส., ลิ่วศิริรัตน์ ศ., & สุวรรณปราโมทย์ ป. (2024). ประโยชน์ของแผนเฝ้าระวังภาวะ Compartment Syndrome ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 32(2), S166-S173. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1935
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Matsen FA 3rd, Winquist RA, Krugmire RB Jr. Diagnosis and management of compartmental syndromes. J Bone Joint Surg Am 1980; 62: 286-91.

KostlerW, Strohm PC, Sudkamp NP. Acute compartment syndrome of the limb. Injury 2005; 36: 992-8.

von Schroeder HP, Botte MJ. Definitions and terminology of compartment syndrome and Volkmann’s ischemic contracture of the upper extremity. Hand Clin 1998; 14: 331-4.

Elliott KG, Johnstone AJ. Diagnosing acute compartment syndrome. J Bone Joint Surg Br 2003; 85: 625-32.

Williams AB, Luchette FA, Papaconstantinou HT, Lim E, Hurst JM, Johannigman JA, et al. The effect of early versus late fasciotomy in the management of extremity trauma. Surgery 1997; 122: 861-6.

Hope MJ, McQueen MM. Acute compartment syndrome in the absence of fracture. J Orthop Trauma 2004; 18: 220-4.

Vaillancourt C, Shrier I, Vandal A, Falk M, Rossignol M, Vernec A, et al. Acute compartment syndrome: how long before muscle necrosis occur?. CJEM 2004; 6: 147-54.

Cascio BM, Wilckens JH, Ain MC, Toulson C, Frassica FJ. Documentation of acute compartment syndrome at an academic health-care center. J Bone Joint Surg Am 2005; 87: 346-50.

ฺBhattacharyya T, Vrahas MS. The medical-legal aspects of compartment syndrome. J Bone Joint Surg Am 2004; 86: 864-8.

Dente CJ, Feliciano DV, Rozycki GS, Cava RA, Ingram WL, Salomone JP, et al. A review of upper extremity fasciotomies in a level-I trauma center. Am Surg 2004; 70: 1088-93.

Feliciano DV, Cruse PA, Spjut-Patrinely V, Burch JM, Mattox KL. Fasciotomy after trauma to the extremities. Am J Surg 1988; 156: 533-6.

Velmahos GC, Theodorou D, Demetriades D, Chan L, Berne TV, Asensio J, Cornwell EE 3rd, et al. Complications and nonclosure rates of fasciotomy for trauma and related risk factors. World J Surg 1997; 21: 247-52.

Tiwari A, Haq AI, Myint F, Hamilton G. Acute Compartment Syndrome. Br J Surg 2002; 89: 397-412.

Janzing HM, Broos PL. Routine monitoring of compartment pressure in patients with tibial fractures: beware of overtreatment. Injury 2001; 32: 415-21.