การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัข จังหวัดเลย ปี 2545
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขในพื้นที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ตามเกณฑ์ที่มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าสูงของเขตสาธารณสุขที่ 6 ดำเนินการทุกอำเภอ เลือกตำบลและหมู่บ้านโดยใช้วิธี Cluster random sampling ได้พื้นที่ศึกษาในเขตเมือง 10 แห่ง และเขตชนบท 36 หมู่บ้าน แล้วสุ่มเจาะเลือดสุนัขในเขตเมือง 160 ตัว และชนบท 288 ตัว โดยแบ่งเป็นสุนัขมีเจ้าของและไม่มีเจ้าของจำนวนเท่ากันและแบ่งเป็นกลุ่มสุนัขที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุมากกว่า 2 ปี จำนวนเท่ากันรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 448 ตัว การเก็บข้อมูลทำโดยสำรวจทะเบียนสุนัขและการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สุ่มเจาะเลือดสุนัขพร้อมซักประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้วส่งเซรุ่มตรวจหาแอนติบอดี้ ด้วยวิธี rapid fluorescent focus inhibition test ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาประวัติการได้รับวัคซีน พบว่า สุนัขส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.6 ได้รับวัคซีนในช่วงเวลา 1-6 เดือน ร้อยละ 3.8 ได้รับวัคซีนนานกว่า 1 ปี และร้อยละ 1.1 ไม่เคยได้รับวัคซีน เมื่อเจาะเลือดตรวจหาระดับภูมคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า พบว่า สุนัขร้อยละ 90.0 มีภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า ( 0.50 IU/ml) เมื่อเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกัน พบว่าสุนัขที่มีเจ้าของมีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่าสุนัขที่ไม่มีเจ้าของถึง 2 เท่า (p<0.05) สุนัขที่อายุต่ำกว่า 1 ปี และอายุมากกว่า 2 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าไม่แตกต่างกัน (p<0.05) สุนัขที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าสูงกว่าสุนัขที่ไม่เคยได้รับวัคซีน 15 เท่า (p<0.01) โดยพบว่าสุนัขที่เคยได้รับวัคซีนในช่วง 1-6 เดือน จะมีภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าสูงกว่าสุนัขที่ไม่เคยได้รับวัคซีนถึง 16 เท่า กลุ่มที่เคยได้รับวัคซีนนานกว่า 1 ปี จะมีภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าสูงกว่าสุนัขที่ไม่เคยได้รับวัคซีน 11 เท่า และสุนัขในเขตเมืองและชนบทมีระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความครอบคลุมการได้รับวัคซีนกับความครอบคลุมระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า พบว่ามีความสัมพันธ์ในทางบวก (R=0.46)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Tepsumethannon W, Polsuwan C, Lumlertdaecha B. Khawplod p, Hemachudha T, Chutivongse S, et al. Immune response to rabies vaccine in Thai dogs, preliminary report. Vaccine 1991; 9: 627-30.
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์ และแนวโน้มโรคพิษสุนัขบ้าในแนวทางการกวาดล้างโรค พิษสุนัขบ้า ให้หมดไปจากประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2539. หน้า 12-14
Cohen JJ. The immune response. In: Middleton EJ, Reed CE, Ellis EF, editors. Allergy Principles and Practice. St Louis: Mosby; 1978.p. 82.
Muller TF, Schuster P, Vaps AC, SelhostT, Wengel UD. Neubert AM. Effect of maternal immunity on the immune response to oral vaccination against rabies in young foxes. Am J Vet Res 2001; 62:1154-8.
Sage G, Khawplod P. Wilde H, Lobough C, Henachudha T. Tepsumethanon, et al. Immune response to rabies vaccine in Alaskan dogs: Failure to achieve a consistently protective antibody response. Trans R Soc Trop Med Hyg 1993; 87: 593-5.
ผกามาศ ขาวปลอด. การตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยวิธีนิวทรัลไลเซชั่นในเซลล์เพาะเลี้ยง (RFFIT). กรุงเทพฯ: หน่วยวิจัยและพัฒนา สถานเสาวภาสภากาชาด ไทย; 2540. หน้า 1-6. (เอกสารอัดสำเนา)
สานิตช์ คัมภีรศาสตร์. การประยุกต์ใช้วิธี RFFIT ในการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งชาติ "พันธมิตรร่วมใจ กระบวรทรรศน์ใหม่เพื่อการวิจัยและพัฒนา" 15-16พฤษภาคม 2544; ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค. กรุงเทพมหานคร; 2544. (เอกสารอัดสำเนา)
Coyne MJ. Bress IHH, Yule TD, Harding MJ, Tressnan DB, Mc Eravin DI. Duration of immunity in dogs of the vaccination or naturally acquired infections. Vet Rec 2001; 149: 509-15.