พฤติกรรมการใช้สารเสพย์ติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2541-2542
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: ผู้วิจัยได้ศึกษาขนาดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพย์ติดในนักเรียนมัธยมศึกษา โดยการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) และมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5) ทุกคนใน 27 โรงเรียนจากจำนวนทั้งหมด 109 แห่ง (ร้อยละ 24.8) ใช้แบบสอบถามให้ตอบเองโดยไม่ระบุชื่อ เก็บข้อมูลได้จากนักเรียนชาย 5,621 คน และนักเรียนหญิง 7,071 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 9.4 ของนักเรียนชาย ม.3 ตอบว่า เคยเสพยาบ้า และร้อยละ 2.6 ยังเสพอยู่ นักเรียนชาย ม.5 ร้อยละ 16.3 ระบุว่าเคยเสพยาบ้าโดยที่ร้อยละ 4.5 ยังเสพอยู่ สำหรับนักเรียนหญิงในชั้น ม.3 และ ม.5 ระบุว่าเคยเสพยาบ้า ร้อยละ 0.5 และ 0.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนชายชั้น ม.3 เคยสูบบุหรี่ร้อยละ 37.0 และยังคงสูบอยู่ร้อยละ 10.0 ส่วนนักเรียนชายชั้น ม.5 ระบุว่าเคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 43.0 และยังคงสูบอยู่ร้อยละ 17.8 สำหรับการดื่มสุราพบในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 14.0 และ 22.0 ของนักเรียนชายชั้น ม.3 และ ม.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสพยาบ้าของนักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เที่ยวสถานเริงรมย์ และเที่ยวกลางคืน ไม่ตระหนักในนโยบายหรือกิจกรรมของทางโรงเรียน มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องว่ายาบ้าไม่เป็นผลเสียกับตัวเอง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญอื่น ได้แก่ อยู่หอพัก มีรายได้สูงระหว่างเรียน และมีอายุที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจความเห็นต่อกิจกรรมในสถานศึกษาพบว่าหนึ่งในสามของนักเรียนชายไม่ทราบ หรือทราบแต่ไม่สนใจกิจกรรมเหล่านี้ และร้อยละ 30.0 ของนักเรียนระบุว่ากิจกรรมที่มีอยู่ไม่เพียงพอและควรได้รับการปรับปรุง ดังนั้น การแก้ปัญหาสารเสพย์ติดในสถานศึกษานอกจากการลดปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กันแล้ว ยังต้องพิจารณาปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น นักเรียนที่อยู่หอพัก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิพนธ์ พัวพงศกร. การประมาณการจำนวนผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย. สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพย์ติด; 2539.
ยุพา วงศ์ไชย. การประเมินผลการควบคุมป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของวัตถุเสพย์ติด(ยาม้า) คณะสังคมสง เคราะห์ศาสตร์และคณะนิติศาสตร์, ม.ธรรมศาสตร์; 2538.
นพดล กรรณิกา. สภาพปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพย์ติดในสถานศึกษาและการประมาณค่าจำนวนวันนักเรียน/นักศึกษาที่ใช้ยาเสพย์ติด:ศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย. รายงานการวิจัย: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามรามยาเสพติด. สำนักวิธีเอแบค-เคเอสชี อินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบค โพลล์), มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ; 2542.
ทิพย์อร ไชยณรงค์. การวิเคราะห์ผลงานวิจัยด้านยาเสพย์ติด. กองวิเคราะห์โครงการและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2535.
กองสารวัตรนักเรียน. รายงานผลการศึกษาการใช้สารเสพย์ติด. กรมพละศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ; 2534.
สุมิตร สูตรา, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล รายงานการทบทวน องค์ความรู้ การวิเคราะห์สภาวะสุขภาพและแนวโน้มของประชากรวัยเรียน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543.
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. แนวทางวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายแก้ไขปัญหายาเสพย์คิดในประเทศไทย. รายงานการวิจัย; 2540.
กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัย.คู่มือผู้บริหารทักษะชีวิตในโรงเรียน ทิศทางการพัฒนาคนด้านสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข; 2541.
ประเสริฐ ตันสกุล. สภาพการใช้สารเสพย์ติดและทัศนคติเกี่ยวกับสารเสพย์ติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.รายงานการศึกษาคุณภาพชีวิตและสุขภาพของเยาวชน: โครงการป้องกันยาเสพติด กรมการฝึกหัดครู; 2533.
ปนัดดา เพ็ชรสิงห์. อบายมุขที่มีความสัมพันธ์กับการหนีโรงเรียนของเด็กวัยรุ่นในกทม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต(อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม). มหาวิทยาลัยมหิดล; 2530.
กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. Family Health International/Asia Reginal Office. การศึกษาความเที่ยงของข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์เฉพาะพื้นที่ ประเทศไทย; 2540.