ผลกระทบของการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษาที่มีต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา ที่มีต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ผู้ป่วยและวิธีการ ศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังแบบ unmatched case-control study โดยใช้ผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาในปีงบประมาณ 2536 เป็นประชากรตัวอย่าง กลุ่มศึกษาคือประชากรตัวอย่างที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงขณะพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งนี้ทุกรายซึ่งมีจำนวน 148 ราย กลุ่มควบคุมคือประชากรตัวอย่างที่ไม่มีอาการก้าวร้าวรุนแรง ตลอดระยะเวลาของการพักรักษาตัวอยู่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาครั้งนี้ซึ่งถูกเลือกออกมาเป็นจำนวน 148 ราย เท่าจำนวนของกลุ่มศึกษา โดยใช้วิธี simple random sampling วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าอัตราเสี่ยง relative risk ปัจจัยเสี่ยงคือการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในและมีประวัติขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในและไม่มีประวัติขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา 6.02 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรหาแนวทางป้องกันการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษาของผู้ป่วยจิตเวช เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น โดยการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพจิต และพัฒนาระบบส่งต่อ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Blair DT, New SA. Assaultive behavior: know the risks. J Psychosoc Nurs 1991;29:25-30.
สมชาย จักรพันธุ์.ผู้ป่วยจิตเวชกับความปลอดภัยของสังคม. ใน: สุวงศ์ ศาสตรวาหา,บรรณาธิการ. รวมบทความทางวิชาการใน โอกาสเกษียณอายุราชการศาสตราจารย์นายแพย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน; 2536. หน้า 69-74.
Durivage A. Assaultive behaviour: before it happens. Can J Psychiatry 1989;34:393-7.
Sweillam TK. Assaultive behavior among chronic inpatients. Am J Psychiatry 1982;139:212-5.
Prunier P, Buongiomo PA. Guidelines for acute inpatient psychiatric treatment review. Gen Hosp Psychiatry 1989; 11:278-81.
สุพล รุจิรพิพัฒน์.การศึกษาผู้ป่วยโรคจิตที่กลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำ. โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา, กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารเผยแพร่ภายในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา; 2528.
ทัสสนี นุชประยูร.การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ใน: ทัสสนี นุชประยูร,เติมศรี ขำนิจารกิจ, บรรณาธิการ.การวิจัยชุมชุมชนทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2533. หน้า 63-95.
Rossi AM, Jacobs M, Monteleone M, et al. Characteristics of psychiatric patients who engage in assaulive or other fear-inducing behaviors. J Nerv Ment Dis 1986;174:154-60.
Binder RL, McNiel DE. Effects of diagnosis and context on dangerousness. Am J Psychiatry 1988;145:728-32.
Craig TJ. An epideniologic study of problems associated with violence among psychiatric impatients. Am J Psychiatry 1982;139:1262-6.
Haller RM, Deluty RH. Assaults on staff by psychiatric inpatients. A critical review. Br J Psychiaty 1988;152:174-9.
Miller RJ,Zadolinnyj K, Hafner RJ. Proffics and predictors of assaultiveness for different psychiatric ward populations. Am J Psychiatry 1993;150:1368-73.
Karson C, Bigelow LB. Violent behavior in schizophrenic inpatients. I Nery Ment Dis1987;75:161-4.
Edwards JG, Jones D, Reid WH, Chu C. Physical assaults in a psychiatric unit of a general hospital. Am J Psychiatry 1988;145:1568-71.
Amy EL, John SL, Lind CM, Michael, Sheldon M, Alexander O. The treatment of dangerous patients in managed care. Gen Hosp Psychiatry 1997;19:112-8.
Cooper AJ, Mendonca JD. A prospective study of patient assaults on nurses in a provincial psychiatric hospital in Canada. Acta Psychiatri Scand 1991;84:163-6.
Janofsky JS, Spears S, Neubauer DN. Psychiatrist 's accuracy in predicting violent behavior on an inpatient unit. Hosp Community Psychiatry 1988;39:1090-4.
Hatti S, Dubin WR, Weiss KJ. A study of circumstances surrounding patient assaults on psychiatrists. Hosp Community Psychiatry1982;33:660-1.
Noble P, Rodger S. Violence by psychiaric inpatients. Br J Psychiatry 1989;155:384-90.
Tardiff K. Charactistics of assaultive patients in private hospitals. Am J Psychiatry 1984;141:1232-5.
Dean GK, Ron A, Heidi SR, et al. A 2-year longitudinal analysis of the relationships between violent assault and substance use in women. J Consult Clin Psychol 1997;65: 834-47.
Jerome HJ. Cocaine-related disorders. In: Benjamin JS, Virginia AS, editors. Comprehensive textbook of psychiatry. 7th ed. Philadelphia: williams & Wikins; 1999.p.999-1015.
Beverly JF. Other psychiatric emergencies. In: Benjamin JS, Virginia AS, editors. Comprehensive textbook of psychiatry: 7th ed. Philadelphia: williams & Wilkins; 1999.p. 2040-55.
Bessel A. van der Kolk. Physical and sexual abuse of adults. In: Benjamin IS, Virginia AS, editors. Comprehensive textbook of psychiatry. 7th ed. Philadelphia: Williams & Wilkins; 1999. p. 2002-8.
Menninger WW. Role ofthe psychiatric hospital in the treatment of mental illness. In: Benjamin JS, Virginia AS, editors. Comprebensive textbook ofpsychiatry. 7th ed. Philadelphia: Williams & Wilkins; 1999. p. 3210-8.