ภาวะพิษจากยาฆ่าแมลงออร์แกโนฟอสเฟต ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ชวศักดิ์ กนกกันฑพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะพิษจากยาฆ่าแมลงออร์แกโนฟอสเฟตยังเป็นปัญหาและสาเหตุการตายที่สำคัญในประเทศไทย จากข้อมูลย้อนหลังโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีผู้ป่วยกินยาฆ่าแมลงออร์แกในฟอสเฟตร้านวนมากกว่า 100 รายต่อปี อัตราการตายยังสูงกว่าร้อยละ 30 วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับยาฆ่าเมลงออร์กาโมฟอสเฟตที่รับไว้ในโรงพยาบาลและหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพในการรักษาผู้ป่วยต่อไป ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังข้อมูลของผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลงออร์แกโนฟอสเฟตที่รับไว้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาตลอดปีงบประมาณ 2547 ผลการศึกษา: ระหว่าง 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2547 มีผู้ป่วยกินยาฆ่าแมลงออร์แกโนฟอสเฟตทั้งหมด 118 ราย ตามเวชระเบียนได้ 99 ราย เป็นชาย ร้อยละ 56.6 อายุเฉลี่ย 41.9±14.6ปี โดยร้อยละ 79.8 เป็นผู้ป่วยที่รับส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่นเนื่องจากเกินขีดความ สามารถ มีผู้ป่วยถึงร้อยละ 51.5 ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่แรกรับ พบอัตราการตายของผู้ป่วยทั้งหมดร้อยละ 48.5 และในผู้ป่วยที่เสียชีวิตร้อยละ 20.8 เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก ในกลุ่มที่เสียชีวิตพบปัจจัยต่อไปนี้มากกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น ผู้ป่วยอายุมาก การใช้เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่แรกรับ และการใช้ยาต้านพิษ pralidoxime เเละ atropine สรุป: อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับสารออร์แกโนฟอสเฟตของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมายังอยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากเป็นผู้ป่วยมีอาการหนัก ส่วนใหญ่รับส่งตัวต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นและมีภาวะหายใจล้มเหลวจึงควรพัฒนาแนวทางและคู่มือการรักษาผู้ป่วยออร์แกโนฟอสเฟต สำหรับ โรงพยาบาลอำเภอ และพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยให้มีคุณภาพมากขึ้น

Article Details

How to Cite
กนกกันฑพงษ์ ช. (2025). ภาวะพิษจากยาฆ่าแมลงออร์แกโนฟอสเฟต ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 29(1), 33–40. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2519
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jeyaratnam J. Acute pesticide poisoning: a major global health problem. World Health Stat Q. 1990; 43: 139-44.

Clark RC. Organic phosphorus compounds and carbamates. In: Goldfrank LR, editor. Goldfrank's Toxicologic Emergencies. 7th ed. New York: McGraw-Hill, 2002; p.1346-67.

Wadia RS. Treatment of organophosphate poisoning. Indian J Crit Care Med 2003; 7:85-7.

Howland MA. Pralidoxime. In: Goldfrank LR editor, Goldfrank's toxicologic emergencies. 7th ed. New York: McGraw-Hill, 2002; p.1361-5.

Singh S. Organophosphorous poisoning: an evidence based approach. MJAFI 2004; 60: 2-4.

Samuel J, Thomas K, Jeyaseelan L, Peter JV, Cherian AM. Incidence of intermediate syndrome in organophosphorous poisoning. J Assoc Physicians India 1995; 43: 321-3.

Johnson S, Peter JV, Thomas K, Jeyaseelan L, Cherian AM. Evaluation of two treatment regimens of pralidoxime (1 gm single bolus dose vs 12 gm infusion) in the management of organophosphorus poisoning. J Assoc Physicians India 1996; 44: 529-31.

Cherian AM, Jeyaseelan L, Peter JV, Samuel J, Jaydevan R, Peter S,et al. Effectiveness of pralidoxime in the treatment of organophosphorous poisoning-a randomized double blind placebo controlled clinical trial. INCLEN Monograph series in Critical International Iss No.7, 1997.

Cherian AM, Peter JV, Samuel J, Jaydevan R, Peter S, Joel S, et al. Effectiveness of 2-PAM in the treatment of organophosphorous poisoning. A randomized double blind placebo controlled trial. J Assoc Physic India 1997; 45:22-4

Eddleston M, Szinicz L, Eyer P, Buckley N. Oximes in acute organophosphorus pesticide poisoning: a systematic review of clinical trials. QJM 2002; 95:275-83.

พรพิศ ศิลขวุธท์,ประเสริฐศรี กาญจนนิมมาน, ออรัศ คงพานิช. คู่มือการอบรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเเละสัตว์อย่างปลอดภัย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานนทบุรี. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2540

Johnson MK, Jacobsen D, Meredith TJ, Eyer P, Heath AJ, Ligtenstein DA, et al. Evaluation of antidotes for poisoning by organophosphorus pesticides. Emerg Med 2000,12:22-37.

Eyer P. The role of oximes in the management of organophosphorus pesticide poisoning. Toxicol Rev 2003; 22: 165-90.