ผลการรักษา Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL) ในเด็ก ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค acute Iymphoblastic lenkemia (ALL) เพื่อทราบผลการรักษาด้วยสูตรยาเคมีบำบัดของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (induction ด้วยยา 3 ตัว คือ prednisolone, vincristine เเละ cyclophosphamide หรือ adrianycin) ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2539 ถึง 31 พฤษภาคม 2542 พบมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 48 ราย นำข้อมูลมาศึกษาได้ 40 ราย เป็นชาย 24 ราย หญิง 16 ราย อายุที่พบบ่อยอยู่ระหว่าง 3-6 ปี แบ่งเป็นกลุ่ม low risk 26 ราย และ high risk 14 ราย ผลการรักษาพบมีผู้ป่วย remission หลังให้ induction ชุดแรก ร้อยละ 62.5 เมื่อให้ induction ซ้ำเป็นชุดที่ 2 พบ remission ร้อยละ 85.5 มีผู้ป่วย relapse ร้อยละ 30.0 ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือที่ไขกระดูก (ร้อยละ 80.0) พบอัตราตายร้อยละ 26.7 มีผู้ป่วยที่ยังคงมีชีวิตอยู่โรคสงบร้อยละ 40.5 ระยะเวลาที่นานที่สุดของการ remission จนถึงสิ้นสุดการรักษาเท่ากับ 16 เดือน ซึ่งพบในผู้ป่วย 3 ราย (ร้อยละ 7.1) ผลการรักษา ALL ในเด็กด้วยสูตรเคมีบำบัดปัจจุบันของโรงพยาบาลมหาราชนครราช ยังได้ผลดีนัก สาเหตุเนื่องจากยาเคมีบำบัดที่ใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรยาเคมีบำบัดที่ใช้เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Nicmeyer CM, Sallan SE. Acute lymphoblastic leukemia. In: Nathan DG, Orkin SH, editors. Hematology of infancy and childhood. Philadelphia: WB Saunders, 1998. p. 1245-85.
Margolin JF, Poplack DG. Acute lymphoblastic leukemia. In: Pizzo PA, Poplack DG, editors. Principle and practice of pediatriconcology. Philadelphia: Lippincott-Raven, 1997. p. 409-62.
Pui CH.Childhood leukemia. N Engl J Med 1995;332:1618-30.
PuiCH, Evan WE,G Gilbert JR. Meeting report: Internal Childhood ALL Workshop: Memphis, TN, 3-4 December 1997. Leukemia 1998;12:1313-8.
Rivera GK, Raimondi SC, Hancock ML, et al. Improved outcome in childhood acute lymphoblastic leukemia with reinforced early treatment and rotational combination chemotherapy. Lancet 1991;337:61-6.
Chessels JM,Bailey C, Richard SM. Intensification of treat ment and survival in all children with lymphoblastic leuke mia: results of UK Medical Research Council Tria UK ALL X. Lancet 1995;345:143-8.
ปรีดา วานิชยเศรษฐกุล, ปัญญา เสกสรร. Treatment outcome of childhood acute Iymphoblastic lenkemia: a Chulalongkorn Hospital study. เวชสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต2537;43:223-41.
บรรเจิด จงเจริญกมล. ผลการรักษา acute lymphoblastic leakemia ในเด็ก. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2538;19:259-67.
Smith M. Toward a more uniform approach to risk classification and treatment assignment for children with acute lymphoblastic leukemia (ALL). Chicago: American Society of Clinical Oncology Educational Book, 1994.p. 1224-30.
Reiter A, Schrappe M, Ludwig WD, et al. Chemotherapy in 998 unselected childhood acute lymphoblastic leukemia patients. Result and conclusive of multicenter trial ALL-BFM 86. Blood 1994;84:3122-33.
Dissaneevate P. Nutritional stutus in acute lymphoblastic leukemia in children and early outcome in the peroid of induction of remission at Sonklanagarind Hospital. สงขลานครินทร์เวชสาร 2537;12:185-6.
Burnett AK, Eden OB. The treatment of acute leukemia. Lancet 1997;349:270-5.
VanDongen JM, Serice T, Grumayer RPE, et al. Prognostic value of minimal residual disease in acute lymphoblastic leukemia in childhood. Lancet 1998;352:1731-8.
Rivera GK, Pinkel D, Simone JV, et al. Treatment of acute lymphoblastic leukemia: 30 years' experience at St. Jude Children's Research Hospital. N Engl J Med 1993;329:1289-95.