ประเมินผลโครงการให้คำปรึกษาปัญหาโรคเอดส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (Evaluation on AIDS Counselling Project, Buriram Province)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ต้องการประเมินผลโครงการให้คำปรึกษาปัญหาโรคเอดส์โดยศึกษาระบบการให้คำปรึกษาของสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ เช่นบุคลากร วิธีการ สถานที่ สื่อ ปัญหาอุปสรรคและสาเหตุของการไม่มีผู้ไปรับบริการที่สถานีอนามัยตลอดจนความรู้สึกของผู้รับบริการหลังรับการปรึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยที่ผ่านการอบรมเทคนิคการให้คำปรึกษาปัญหาโรคเอดส์ และผู้มารับบริการปรึกษาที่โรงพยาบาลชุมชน ระหว่างเดือน กค. ถึง กย. 2540 ใช้การสัมภาษณ์ สำรวจและสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลชุมชน มีเจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมทุกแห่ง เฉลี่ย 5 คนต่อแห่ง มีสถานีอนามัย 5 แห่งที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้อบรม ทั้งสองแห่งมีการให้คำปรึกษาก่อนการเจาะเลือด ร้อยละ 63.8 ใช้เวลาเฉลี่ย 15 นาที ให้คำปรึกษาหลังการเจาะเลือด ร้อยละ 55.7 ใช้เวลาเฉลี่ย 30 นาที โดยที่โรงพยาบาลชุมชนให้คำปรึกษาครบทุกขั้นตอนร้อยลยละ 69.9 สถานีอนามัยทำครบทุกขั้นตอนเพียงร้อยละ 33.3 กว่าครึ่งของโรงพยาบาลชุมชนจัดห้องเฉพาะไว้บริการปรึกษา มีผู้มารับบริการเฉลี่ยเดือนละ 15 คน สถานีอนามัยมีการจัดที่ไว้ให้บริการร้อยละ 49.0 กว่าครึ่งจะไม่มีผู้มารับบริการ ทั้งสองแห่งมีสื่อในการให้คำปรึกษา ร้อยละ 83.6 และมีเพียงพอ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่สถานที่ให้คำปรึกษาไม่เป็นสัดส่วน บุคลากรผ่านการอบรมน้อย ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะ ไม่มีงบประมาณไม่ค่อยได้ปฏิบัติทำให้ลืมขั้นตอน ผู้รับบริการปรึกษาหลังได้รับคำปรึกษาแล้วส่วนใหญ่สบายใจขึ้น ผู้ให้บริการมนุษย์สัมพันธ์ดี สถานที่เหมาะสมดี ผลการประเมินตามแผนการประเมินผล 4 ข้อ คือ 1. ระบบการให้คำปรึกษาของสถานบริการต่างๆ ตามเกณฑ์การวัดจะผ่านเกณฑ์เพียง 2 ข้อ คือการมีสื่อ วัสดอุปกรณ์ช่วยในการให้คำปรึกษาอย่างเพียงพอ และการใช้เวลาให้คำปรึกษาเหมาะสม 2. วิธีการให้คำปรึกษา ตามเกณฑ์ทุกคนต้องปฏิบัติครบทุกขั้นตอน ผลการประเมินไม่ผ่าน 3. ตรวจสอบสาเหตุของการไม่มีผู้ไปรับบริการที่สถานีอนามัยผลการประเมินไม่ผ่าน 4. ตรวจสอบความรู้สึกของผู้รับบริการหลังได้รับการปรึกษาผลการประเมินไม่ผ่าน จากการประเมินผลโครงการนี้ พบว่าไม่ผ่านตามเกณฑ์ชี้วัดที่ได้ตั้งไว้เป็นส่วนมาก เนื่องจากเกณฑ์ตั้งไว้หวังผลของความสำเร็จในทุกกิจกรรมสูงอย่างไรก็ตามผลการศึกษาครั้งนี้จะได้นำมาปรับปรุงกิจกรรมของโครงการต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุวรรณา รักพาณิชย์, นิภา สุทธิพันธ์, สุขุม จันทรา. ความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาโรคเอดส์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์, 2540.