การควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นิลเนตร วีระสมบัติ
ยุภาพรรณ มันกระโทก
สุชาดา อัศวกุล
วิไล ประกอบกิจ
บรรจง กิติรัตน์ตระการ

บทคัดย่อ

เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรที่ผลิตขึ้นในโรงพยาบาลสูงเนิน และให้ประชาชนได้บริโภคยาสมุนไพรที่มีคุณภาพสูงผู้วิจัยได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาเตรียมจากสมุนไพรในรูปแบบยาเม็ดลูกกลอนที่มีปริมาณการใช้สูง 5 ชนิดคือ ยาขมิ้นชัน ยาฟ้าทะลายโจร ยาปราบชมพูทวีป ยาแก้ปวดเมื่อย และยาสหัสธารา โดยตรวจวิเคราะห์ใน 3 ด้านคือ การผันแปรของน้ำหนัก การตรวจสอบการกระจายตัว และการตรวจปริมาณปนเปื้อนจุลินทรีย์ ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ 2538 - กุมภาพันธ์ 2539 จำนวนตัวอย่างยาสมุนไพรที่ส่งตรวจวิเคราะห์ครั้งแรกภายใน 3 เดือนหลังการผลิต 43 lot และส่งซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 12 เดือนหลังการผลิต 40 lot โดยส่งตัวอย่างชนิดละ 2 ขวด (250 เม็ด/ขวด) ต่อครั้ง ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่าเข้าเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ด้านในครั้งแรก 34 lot คิดเป็นร้อยละ 79.1 และครั้งที่ 2 36 lot คิดเป็นร้อยละ 90.0 การตรวจหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์พบเฉพาะ acrobic bacteria ในช่วง lot แรก ๆ และได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตจนเข้าเกณฑ์มาตรฐานใน Iot หลัง ในด้านอายุของยาโดยกำหนดจากมาตรฐานการปนเปื้อนจุลินทรีย์ สามารถบอกแนวโน้มได้ประมาณ 6-10 เดือน การดำเนินการควบคุมมาตรฐานในช่วงต่อไปต้องพิจารณาเพิ่มจำนวนครั้งของการส่งตัวอย่างยาในแต่ละ lot การตรวจวิเคราะห์เอกลักษณ์สารสำคัญ และการตรวจหาปริมาณความชื้น เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ต่อไป

Article Details

How to Cite
วีระสมบัติ น., มันกระโทก ย., อัศวกุล ส., ประกอบกิจ ว., & กิติรัตน์ตระการ บ. (2025). การควบคุมคุณภาพยาสมุนไพร โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 22(3), 161–170. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2602
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โพลล์เศรษฐกิจ. ท่านเชื่อถือในการใช้สมุนไพรรักษาโรคหรือไม่. โพลล์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, วันที่ 18 พฤษภาคม 2541.

เรณู โกยสุโข.แนวทางการควบคุมคุณภาพยาจากสมุนไพร. ใน: การควบคุมคุณภาพสมุนไพร.เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 8-11 มิถุนายน 2536:9-20.

ฝ่ายควบคุมสถานที่,กองควบคุมยา, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร, 2536.

Dechatiwongse Na Ayudhya T, Jewvachdamrongkul Y, Chavalittumrong P, Nutakul W. Chokechajaroenpom O, Jirawattanapong W. Quality evaluation of vegetable drugs. Phytochemistry Section, Division of Medical Research,Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health, Bangkok, Thailand, 1988:60-81.

นิลเนตร วีระสมบัติ, ยุภาพรรณ มันกระโทก, วิไล ประกอบกิจ,รัตนา พรมฤทธิ์. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการผสมผสานการแพทย์แผนไทย เข้าสู่ระบบบบริการสาธารณสุขปัจจุบัน ในโรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัคนครรราชสีมา,2534.

มาลี บรรจบ.การควบคุมคุณภาพ. ใน: การควบคุมคุณภาพสมุนไพร. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,8-11 มิถุนายน 2536: 113-27.

พนิดา กาญจนภี. การอภิปรายเรื่องทรรศนะที่เกี่ยวกับทิศทางการวิจัย: เพื่อพัฒนายาไทยและอุตสาหกรรมยาไทย. รายงานการประชุมการวิจัยเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทย, สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข,2537:21-4.