ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
Factors affecting professional learning communities of schools
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 3บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับปัจจัยความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวีชาชีพ 4) สร้างสมการพยากรณ์ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา
ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาวังทอง 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 จำนวน 127 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้มาโดยการสุ่มแบบ
แบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ในภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.623 – 0.753 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 สูงที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และต่ำที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำ และ 4) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบรรยากาศโรงเรียน (X2) ด้านภาวะผู้นำ (X3) ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังทอง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.803 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 64.5 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้
= 0.979 + 0.246X3 + 0.386X2
= 0.349X3 + 0.378X2
References
จิตลดา หนูดอนทราย. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้
เชิงวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร). EDU NU.
http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2019_10_26_12_04_53.pdf
ณรงค์ ขุ้มทอง. (6 มีนาคม 2560). PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย. มติชนออนไลน์
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สกศ.
https://www.matichon.co.th/columnists/news_484184
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย.
การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561. ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา.
วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
คณะครุศาสตร์.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3311
ศกลวรรณ สินประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยบูรพา). OPAC. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/58990007.pdf
ศรสวรรค์ เพชร์มี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ตาก (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร). EDU NU http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_05_18_15_13_51.pdf
สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก:
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกศกาญจน์ ทองจันทร์แก้ว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
ในโรงเรียนมัธยมสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่). OAR HU.
https://oar.hu.ac.th/wp-content/uploads/2024/05/เกศกาญจน์-ทองจันทร์แก้ว.pdf
Hord, S., M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry
And improvement. Southwest Educational Development Laboratory.
