บทวิพากษ์การอธิบายปรากฏการณ์ตามแนวปรัชญาที่ต่างกัน
คำสำคัญ:
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, สังคมศาสตร์, แนวทางการตีความ, แนวทางทฤษฎีวิพากษ์บทคัดย่อ
เมื่อกล่าวถึงแนวทางการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ผู้ที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Naturalism) หรือสังคมศาสตร์ (Social Science) จะทราบว่า ทั้ง 2 ศาสตร์ดังกล่าว ต่างก็มีแนวทางการอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่างโดยแนวทางส่วนใหญ่มีความตรงกันข้ามระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางการอธิบายปรากฏการณ์ซึ่งกลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติระบุว่าแนวทางของตนใช้การอธิบายตามตัวแบบเชิงเหตุผล (Causal Model) ด้วยเกณฑ์ที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ (Validity and Reliability) และมีข้อโต้แย้งว่า แนวทางการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่มีตัวแบบและเกณฑ์ดังที่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ทุกศาสตร์บนโลกต่างก็มีส่วนดีและส่วนบกพร่อง เพียงแต่ผู้นำศาสตร์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์นั้นควรรู้จักเลือกส่วนดีของศาสตร์หนึ่งๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการศึกษา บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทวิพากษ์การอธิบายปรากฏการณ์ของแนวปรัชญา 3 แนวทาง คือ แนวทางของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Naturalism) และแนวทางของสังคมศาสตร์ 2 แนวทาง คือ แนวทางการตีความ (Interpretation) และแนวทางทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory) โดยมุ่งนำเสนอให้เห็นถึงลักษณะร่วมและลักษณะต่างของแต่ละศาสตร์ รวมทั้งบทสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละแนวทาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้แนวปรัชญาเพื่อการอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นต่อไป
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น = Development discourse. พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ฟริเบียร์, เบ๊นท์ เขียน, อรทัย อาจอ่ำ แปล. (2546). ฟื้นสังคมศาสตร์ : ทำไมการวิจัยทางสังคมจึงล้มเหลวและจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร? = Making social science matter : why social inquiry fails and how it can succeed again?. กรุงเทพฯ : คบไฟ.
ฟูโกต์, มิแช็ล เขียน, นพพร ประชากุล, บรรณาธิการแปล, ทองกร โภคธรรม แปล. (2547). ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (2475). วัฒนธรรมคือความหมาย : ทฤษฎีและวิธีการของคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
อาคม เดชทองคำ. (2543). หัวเชือกวัวชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
โอคาชา, ซาเมียร์ เขียน, จุไรรัตน์ จันทร์ธำรง แปล. (2549). ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
Martin, Michael , & McIntyre, Lee C. 1994. Readings in the Philosophy of Social Science. Massachusetts: MIT Press.
Rosenberg, Alexander. 1995. Philosophy of Social Science. Colorado: Westview.