บทบาทผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่ายุคใหม่ในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
คำสำคัญ:
บทบาท, ผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่า, ผู้หญิงยุคใหม่, อารยธรรมลุ่มน้ำโขงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่ายุคใหม่ในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง โดยศึกษาผ่านแนวคิดสตรีนิยมแนววัฒนธรรมศึกษา(Feminist Cultural Studies)ในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งใช้ข้อมูลที่ปรากฏและเผยแพร่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ คือ บทความ วารสาร งานวิจัยและสื่อออนไลน์บนเว็ปไซต์ข่าวของประเทศลาวและประเทศพม่า โดยเลือกเก็บข้อมูลระดับปฐมภูมิที่เผยแพร่ในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2560 – 30 ธันวาคม พ.ศ.2566 แล้วนำมาวิเคราะห์และนำเสนอด้วยรูปแบบพรรณาเชิงอธิบาย
ผลการศึกษาบทบาทผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่ายุคใหม่ในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง พบได้ 3 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทของผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่าในอดีตในบริบทอารยธรรมลุ่มน้ำโขง 2) บทบาทที่ทับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปของบทบาทผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่า และ 3) บทบาทของผู้หญิงลาวและผู้หญิงพม่ายุคใหม่ในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
References
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย. 'Women's Role' in the Justice Process: Women as Victims and Justice Producers. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567, จาก https://www.the101.world/women-as-justice-makers/
กรมกิจการสตรีและสังคม.สถิติผู้หญิงในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567,
จาก https://irinagyurjinyan.wordpress.com/2022/04/12/%D1%83%D1%80%D0%BE%D0%BA-19/
บ่าวดอนโบม.ผญาสอนหญิง.สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก
https://www.baanmaha.com/community/showthread.php?7055
อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน.(2562).แนวคิดสตรีนิยม : การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของ
สตรีในการพัฒนาท้องถิ่น.วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี,(7)1-18.
Tahn Tahntawan.ความเหลื่อมล้ำที่ทับซ้อนในภาวะโลกรวน. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2567 จาก
https://www.ccclfilmfestival.com/post/sos-gender-inequality-and-climate-change
