รูปแบบสถานศึกษาพอเพียง

ผู้แต่ง

  • อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สถานศึกษาพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบสถานศึกษาพอเพียง และตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง มี  3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง 2 ) การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาพอเพียง 3) ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบสถานศึกษาพอเพียง โดยการสอบถาม ผู้บริหารสถานศึกษา
ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาพอเพียง ปีการศึกษา 2562 จำนวน ทั้งสิ้น 291 คนได้มาโดยการสุ่มจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และ มอร์แกน (R.V.Krejcie & D.W.Morgan 1970; 607-610) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.906  สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

            ผลการวิจัยพบว่า  1.รูปแบบสถานศึกษาพอเพียง มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์ / ภาพความสำเร็จ  2. ความเหมาะสมของรูปแบบสถานศึกษาพอเพียงมีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความสอดคล้อง ด้านเนื้อหาของรูปแบบ ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 3. ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบสถานศึกษาพอเพียงมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่งผลต่อการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงใน 5 ด้าน ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 (= 4.65 ) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 (= 4.52 ) มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 (= 4.39 ) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.15 (= 4.15 ) และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 (= 4.22 )

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2554). เอกสารการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการ บริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง).

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา.(2553).พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเพิ่มสมดุลในการพัฒนา.

กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สระบุรี.(2554). แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ เรียนรู้ในสถานศึกษา(พ.ศ.2558 - 2562). สระบุรี :กลุ่มนโยบายและแผน.

บุญชม ศรีสะอาด.(2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2557). การขับเคลือนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (พ.ศ. 2549 – 2557).

ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

ปรียานุช ธรรมปิยา.(2558). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (พ.ศ. 2549- 2558). กรุงเทพฯ: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

มูลนิธิสถิรคุณ. แนวทางการขับเคลื่อนสถานศึกษาพอเพียงสู่ความยั่งยืน.ออนไลน์ 2557.

อ้างเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562) จาก : http://www.sufficiencyeconomy.org. สํานักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พิมพ์ครงที่ 2. กรุงเทพฯ :พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.เอกสารผยแพร่.(2548).

ศูนย์การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแนวเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพ ฯ. สานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ, 2559. สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ สอง (พ.ศ. 2552-2561).

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

วรรณรักษ์ หงษ์ทอง ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ และอนุชา กอนพ่วง.(2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหาร สถานศึกษาพอเพียงที่มีประสิทธิผล.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม,. (13 (1) ;105-106

ศาลินา บุญเกื้อ,นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557).ภาพความสำเร็จของการจัด การศึกษาตามหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง. ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิสถิรคุณ,กรุงเทพฯ.

อดิศร บุญโนนแต้, เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช.(2559). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่สถานศึกษาพอเพียง ต้นแบบ สำหรับโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.10 (ฉบับพิเศษ) ;1014-1028

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research

Activities”.Educational and Psychological Measurement.

Likert, R. (1967). The human organization: its management and values. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31