สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม : พุทธสัญลักษณ์กับการสร้างงานในบริบทสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป

ผู้แต่ง

  • ปานฉัตท์ อินทร์คง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

สัญลักษณ์, วัฒนธรรม, พุทธศาสนา

บทคัดย่อ

สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะพุทธสัญลักษณ์เมื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ หรือประกอบร่วมกับผลิตภัณฑ์ควรสร้างในบริบทที่ถูกต้องและเหมาะสมทั้งการสื่อความหมายและรูปแบบที่แสดงออกให้สังคมรับรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในสังคม โดยพิจารณาเรื่องราวทางวัฒนธรรมกับเรื่องราวที่สามารถใช้ประกอบร่วมผลิตภัณฑ์ทั่วไป และมีความแตกต่างกันในการนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งหากสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้นำมาใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ในบริบทที่เหมาะสมตามประเด็นที่กล่าวไว้ในเนื้อหาข้างต้นแล้วก็จะเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนแนวทางการออกแบบและสร้างสรรค์งานด้วยการวิเคราะห์
ถึงรูปแบบและผลกระทบที่เกิดจากการผลิตชิ้นงานที่เป็นองค์รวมให้ลึกซึ้ง โดยผู้ออกแบบและสร้างงานต้องมีการศึกษาข้อมูลเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมแต่ละด้านเพื่อให้สามารถออกแบบผลงานให้เหมาะสมกับลักษณะแนวปฏิบัติของสังคมไทย โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการนำความรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างงานควรมีการควบคุมและใส่ใจในกระบวนการออกแบบและผลิตอย่างเคร่งครัด ส่วนปัญหาที่เกิดจากการผลิต คือปัญหาที่เกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์แนวที่ขัดต่อแนวปฏิบัติในสังคมไทยโดย ซึ่งนักออกแบบและผู้สร้างงานที่เป็นผู้ที่ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวที่จะใช้ประกอบร่วมในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนก่อนเสมอ เพื่อจะได้ปฏิบัติการออกแบบและสร้างสรรค์เรื่องราวให้เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมไทยสู่ผู้บริโภคในสังคมต่อไป  ซึ่งแนวทางการสร้างงานผลิตภัณฑ์หรืองานสร้างสรรค์อื่น ๆ

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). ข้อควรระวังในการใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2022,

จาก https://www.m-culture.go.th/chonburi/images/rule1.pdf

ข่าวชาวบ้าน. (2564). รู้รสพระธรรม ส่องของฝาก-ขนมแสนอร่อย รูปพระพุทธรูป หน้าวัดดังในญี่ปุ่น.

สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2022, จาก https://www.khaochaobaan.com/news/197665

คึกฤทธิ์ ปราโมช, มรว. (2512). “การศึกษากับการสืบทอดและส่งเสริมสร้างวัฒนธรรม”. ไม่ปรากฏชื่อหนังสือ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549.กรุงเทพมหานคร.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2551). ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างงานผลิตภัณฑ์แนวจิตรกรรมไทย.

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2548). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม : แนวทางการศึกษา วิเคราะห์ และ

วางแผน, ขอนแก่น : ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิวัฒน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. Retrieved August 8, 2008, from http://news.hunsa.com/detail.php?id

=10848 > 8

Pinterest. (2565). โมนาลิซ่า. Retrieved April 29, 2022, from https://www.pinterest.com/pin/

/

Tony Martin. (2565). Rock garden landscaping. Retrieved April 29, 2022, from

https://www.pinterest.com/pin/374009944067653550/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31